ข่วงหลวงนี้ดีแต้
คลิปสปอตสรุปภาพงานมหกรรมข่วงหลวงนี้ดีแต้ งานนิทรรศการแสดงผลงานพื้นที่สร้างสรรค์ ณ บ้านพ้วงวัด อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เต็มไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย งดงาม และอาหารอร่อย ๆ ที่จะทำให้คนผูกพันและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญารากเหง้าของชุมชน
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องของปู่ทูแซะ
“เป็นครูใช่ไหม? ขอฝากเด็ก ๆ ด้วยนะ ช่วยสอนให้เขาเป็นคนดี” พระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ครูมิตร ครู กศน. อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้ยึดมั่นในพระราชดำรัสนี้ และเดินตามรอยเท้าพ่อเสมอ ครูมิตร มีโอกาสสอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวเขาชาวดอยได้อ่านออกเขียนได้ เพื่อดำรงชีวิตอย่างไม่ลำบาก วันหนึ่งครูมิตรได้พบลูกศิษย์ ชื่อ อากาโหล ซึ่งเป็นทายาทของปู่ทูแซะ ผู้เฒ่าชาวอาข่าที่สมัยหนุ่มได้ต่อสู้กับกองกำลังขุนส่า เพื่อปกป้องบ้านเกิดไม่ให้ถูกยึดเป็นพื้นที่ผลิตยาเสพติด ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงทราบเรื่องจึงมาชื่นชม และพระราชทานนามสกุลให้ครอบครัวนี้ว่า พนานุรักษ์ แปลว่า ฝากป่าให้ดูแล เรื่องราวนี้ย้ำเตือนให้ครูมิตรและคนไทยทุกหมู่เหล่า ทั้งชาวไร่ชาวนา ชาวเขาชาวดอย ได้ตระหนักว่าในหลวงทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ และฝากฝังให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลซึ่งกันและกันเสมอ
ครัวหลังเขา : ห่อหมกใบตองอ่อน(อาข่า)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้ไปรู้จักชุมชนชาติพันธุ์อาข่าที่บ้านป่าเกี๊ยะ จ.เชียงราย ชนเผ่าอาข่าเป็นชนเผ่าที่อยู่กับป่า รักป่า ดูแลป่า อยู่กับธรรมชาติ วัตถุดิบการทำอาหารของชาวอาข่าส่วนใหญ่จึงเป็นพืชพรรณสมุนไพรที่อยู่ในป่า เช่น เมนูสาธิตวันนี้ "ห่อหมกใบตองอ่อน" ใช้ใบกล้วยอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญ เมนูนี้รับประทานในหน้าแล้ง (ถ้าไม่ใช่หน้าแล้งใบตองจะฝาด) และมักใช้รับประทานในพิธีแต่งงานซึ่งถือเป็นงานสำคัญของชาวอาข่า