Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อันตราย" พบ 10 ข้อมูล

ข่าวปลอม สร้างมาป่วน ปอกลอก ปลุกปั่นอันตราย stop fake news

ในปัจจุบันคนทั้งโลกกำลังประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบและสร้างความวิตกกังวลให้กับคนในสังคมทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ การงาน ไปจนถึงภาวะเศษฐกิจในปัจจุบัน ในแต่ละวันเราจะเห็นรายงานข่าวการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีข่าวปลอมที่สร้างมาป่วน ปอกลอก ชวนเชื่อ สร้างกระแสและปลุกปั่นอันตรายที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต การรู้เท่าทันข่าวสาร ใช้วิจารณญาณในการบริโภคสื่อ คือสิ่งที่เราทำได้ เพื่อให้ตัวเราปลอดภัยทั้งจากโรคระบาดและไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

หวังเซ็กส์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด Beware Sextortion

เสียรู้ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพจิต หวังเซ็กซ์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด วิดีโออินโฟกราฟฟิค ที่จะช่วยเตือนสติวัยรุ่นหลายๆ คน ถึงเรื่องการไว้ใจคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เพื่อหวังความสนุก ตื่นเต้น เพียงชั่วครู่ ซึ่งที่จริงนั้นแฝงไว้ด้วยภัยอันตราย เพราะเมื่อตกเป็นเหยื่อนอกจากจะทำให้เสียทรัพย์ ยังทำให้เสียสุขภาพจิต เสื่อมเสียชื่อเสียงและสร้างความอับอายให้แก่ตัวเองและครอบครัว

โรคระบาดไม่ได้ทำอันตรายเรา เท่าความกลัวโรคระบาด

พระไพศาล วิสาโล  ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “โรคระบาดไม่ได้ทำอันตรายเรา เท่ากับความกลัวโรคระบาด” ในภาวะวิกฤติโควิด 19 ถ้าเรามัวแต่เป็นทุกข์ หวาดระแวงกันและกัน ไม่ยอมใช้ชีวิตปกติ ดูแลสุขภาพร่างกายและใจให้แข็งแรง แล้วเราจะมีภูมิต้านทานทางร่างกายและภูมิคุ้มใจที่ดีได้อย่างไร ขอให้เราทุกคนใช้ชีวิตด้วยสติ  และมีปัญญาในการก้าวข้ามวิกฤติต่าง ๆ ไปด้วยดี

น้ำมันทอดซ้ำ อร่อยมัน อันตราย

ภัยเงียบจากน้ำมันทอดซ้ำ เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารให้เราทานในแต่ละวัน จะเป็นต้นเหตุทำให้เราเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้ ดังนั้นเลือกกินอย่างฉลาดและปลอดภัย หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทอดในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย

ซื้อยาเอง สะดวกบนความเสี่ยง

คนไทยมีสถิติการใช้ยาสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ถึง 3 เท่า จากผลสำรวจพบว่าคนไทยที่ป่วย มักเลือกที่จะซื้อยามากินเองกว่า 98 % นับเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงและส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะอาจทำให้ดื้อยา ได้รับยาเกินขนาด ใช้ยาผิดประเภท หรืออาจทำให้เสพติดยาได้ในที่สุด

อันตรายใส่โฟมรองด้วยพลาสติก

โฟมและพลาสติก 2 มัจจุราชสุดอันตรายต่อสุขภาพ เพราะในโฟมมีสารสไตรีน มอนอเมอร์ ส่วนในพลาสติกขุ่นมีสารไดออกซิน และในพลาสติกใสมีสารไวนิล คอลไรด์ มอนอเมอร์ ซี่งทั้งหมดล้วนเป็นสาพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท สมอง และร่างกาย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี โปรดหลีกเลี่ยงภาชนะโฟมและพลาสติก ไม่นำมาใส่อาหารรับประทาน นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ยังช่วยลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมด้วย

อันตรายใกล้ตัวแฝงภาชนะโฟม

ผลสำรวจร้านค้าใช้กล่องโฟมเป็นภาชนะใส่อาหารร้อนสูงมากถึง 70 %  ทั้งนี้ในกล่องโฟมที่เราใช้กินอาหารกันมีสารสไตรีน ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจะมีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น แก้ว กระเบื้อง หรือวัสดุทดแทนจากธรรมชาติ

10 พฤติกรรมการใช้ยาผิดๆ

ยารักษาโรค หากใช้ผิดวิธีอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ยา ส่วนใหญ่มักคิดว่าการใช้ยารักษาโรคคือการป้องกันโรค ทั้งที่แท้จริงแล้วการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง นอกจากนี้การไม่ฟังคำแนะนำของเภสัชกร เพิ่มหรือลดยาด้วยตัวเอง การเก็บยาผิดวิธี การนำยาของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งการไม่มีวินัยในการใช้ยา เช่น ลืมกินยา ก็จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

ภัยอันตรายจากน้ำดื่ม

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ  6 ช้อนชา  แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.