Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "หุ่น" พบ 13 ข้อมูล

The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.1

The Reading อ่านสร้างสุข กับ ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ครูสอนศิลปะ นักแต่งนิทาน นักวาดภาพประกอบนิทานและนักวิชาการอิสระ คุณครูปรีดาได้ใช้ศิลปะในการรังสรรค์นิทานให้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารและสร้างจินตนาการร่วมกันระหว่างเด็กๆ และผู้ใหญ่ โดยใช้คำง่ายๆ ที่สามารถเล่าเรื่องราวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เด็กๆ เข้าใจได้และเมื่อเด็กๆ อ่านง่าย พวกเขาก็จะค่อยๆ รักการอ่านไปในตัว คุณครูปรีดายังได้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณพ่อที่สงสัยว่าจะเล่านิทานให้ลูกฟังยังไงให้สนุก กุญแจสำคัญก็คือ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่เริ่มเล่านิทานให้ลูกฟัง เสียงของคุณพ่อคุแม่ก็คือ เสียงจากสวรรค์แล้ว การเล่านิทานให้ลูกฟังทุกคืนถือเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของลูกและฝึกพัฒนาการเล่านิทานของผู้ปกครองไปในตัว รวมไปถึงความผูกพัน ความใกล้ชิดที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางแห่งการสร้างความสุขร่วมกัน   

เปิดโลกอาสา : หุ่นไล่กา

กลุ่มหุ่นไล่กา เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ทำสื่อนิทานไปมอบให้เด็กในโรงเรียนที่ขาดแคลน  เพื่อนำเป็นสื่อการสอนที่สร้างจินตนาการให้เด็กได้มีความสนุก เสริมสร้างทักษะชีวิต และพัฒนาการทางสมองจากชุดสื่อนิทานถุงผ้า  ซึ่งภายในจะประกอบด้วย หนังสือนิทาน และหุ่นตัวละครต่าง ๆ ที่ทำจากถุงเท้า  โดยผู้สนใจสามารถสมัครเป็นอาสาสมัครในการช่วยกันทำหุ่นถุงเท้านี้ได้  เพื่อมอบเป็นของขวัญที่มีค่าให้กับเด็ก ๆ  ที่ห่างไกลโอกาส   กลุ่มหุ่นไล่กา : ทำสื่อนิทานหุ่นถุงเท้า facebook : https://www.facebook.com/pages/Hoonla...      

WILL SHARE (Wheel Chair) ละครหุ่นสั้น HAPPY PUFFY SHOW โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม "THE HAPPY PUFFY SHOW" Puppet Show อารมณ์ดี ที่จะทำให้คุณเห็นถึงประโยชน์ของ Universal Design

หมอลำหุ่น สื่อศิลปะของกลุ่มออมทอง มหาสารคาม

ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทย เน้นเรื่อง “ศาสตร์” แต่ขาดศีลธรรมและจริยธรรม ทำให้คนเราขาดเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้เผชิญหน้ากับกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม กลุ่ม “ออมทอง” จึงริเริ่มถอดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ “หมอลำหุ่น” เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมแก่เยาวชน ให้เยาวชนได้รู้จักเรียนรู้เท่าทันตนเองและคุณค่าของวิถีชุมชนผ่านงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่ผสมผสานเรื่อราวของพระพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการศิลปะบูรณาการหลายแขนง อีกทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนได้สืบสานอัตลักษณ์ของชาวอีสานให้ยั่งยืนต่อไป

รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.14 (ตอน ชาวนากับงูเหลือม และ ตอน คำสอนของอาจารย์)

รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.14 พบกับนิทานทุ่งซ่า ตอน  ชาวนากับงูเหลือม เป็นนิทานจากภาคเหนือ จ.เชียงราย เล่าถึงชาวนาผู้หนึ่ง เป็นคนดี ใจบุญสุนทาน ขยันขันแข็งทำมาหากินเลี้ยงชีพ วันหนึ่งเกิดพลัดหลงกับควายของตนเอง จึงเดินตามหาในป่าลึก พบกับงูเหลือมที่จะมาทำร้ายตนเอง แต่ด้วยคุณงามความดีที่ทำไว้ สัตว์ร้ายต่าง ๆ จึงไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ชาวนาได้ ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่า ตอน  คำสอนของอาจารย์ เป็นนิทานของ จ.พัทลุง เล่าถึงอาจารย์ที่มอบคำสอนให้กับลูกศิษย์ซึ่งร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้จนจบและจะเดินทางกลับบ้านว่า “อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย” ซี่งเมื่อลูกศิษย์เชื่อฟังคำสอนของอาจารย์เช่นนี้ จึงทำให้พวกเขารอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง ปิดท้ายด้วยการประดิษฐ์หุ่นเงา ให้การเล่นหุ่นเงามีสีสันที่หลากหลาย

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง รักแท้ไม่แคร์หุ่น

การ์ตูนไทยกับการเตือนภัยยาลดความอ้วน สะท้อนภาพสังคมยุคปัจจุบันที่สาวสังคมทุกวันนี้ไม่เคยพอใจในรูปร่างของตนเอง อย่างเช่นเรื่องราวของนุสรา ที่เธอแสนจะน่ารัก และมีแฟนหนุ่มที่พร้อมจะแต่งงานด้วย แต่นุสราก็ยังไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง  และซื้อยาลดความอ้วนมากิน จนเกือบอันตรายถึงกับชีวิต โชคดีที่ยังมีเพื่อนและแฟนหนุ่มมาช่วยเหลือไว้ได้ทันการณ์

จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนกุมภาพันธ์2557

เที่ยวบางลำพู ถิ่นรุ่มรวยศิลปวัฒนธรรม กับเรื่องเล่าความงดงามที่ชาวบ้านบางลำพูทุกคนภาคภูมิใจ และไปสนุกกับศิลปะพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เยาวชนรุ่นใหม่ หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นสร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบสื่อดั้งเดิม อย่างหุ่นสาย รำตงของชาวกะเหรี่ยง หรือนำมาสร้างสรรค์ในรูปแบบสื่อร่วมสมัยอย่างสื่อภาพยนตร์สั้น ที่ได้โชว์พลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มที่

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่30 เดือนพฤษภาคม 2560

คำว่า Spark U คำนี้มีความหมาย และกำลังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาปลุกใจคนภาคอีสานให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน ต่อด้วยการไปรู้จัก พบปะ พูดคุยกับทีมหมอลำหุ่นคณะเด็กเทวดา กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ และผลการประกวดโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา

keyboard_arrow_up