ธาโร่ต์พุทธวิธี สู่หัวใจตื่นรู้ โดย อ. ถาวร บุญญวรรณ
ไพ่ธาโรต์พุทธวิธี เป็นศาสตร์ในการสะท้อนถึงจิตใจและตัวตนผ่านไพ่ และใช้กระบวนการตามแนวพุทธเพื่อนำไปสู่ทางออกด้วยปัญญาและการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทั้งสองศาสตร์นี้มีเป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างความตระหนักรู้และการใช้ปัญญาในการแสวงหาทางออกของชีวิตด้วยปัญญาและมีสติเป็นตัวกำกับ การบูรณาการศาสตร์ทั้งสองเข้าด้วยกันในเชิงทักษะและกระบวนการจึงทำให้เกิดผลอย่างสมบูรณ์
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน โรคร้าย บทเรียนล้ำค่าจากหัวใจ : นิดดา หงษ์วิวัฒน์
อ่านโดย : คุณวิมลรัตน์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ
การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู
ธนัญธร เปรมใจชื่น รับฟังด้วยหัวใจ
ธนัญธร เปรมใจชื่น หรือ อาจารย์น้อง กระบวนกรอบรมด้านการพัฒนาตนเองจากภายในผ่านการจัดอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ปัญหาหลาย ๆ อย่าง เกิดจากการที่เราไม่รับฟัง ไม่ใช่แค่ฟังคนอื่น แต่ไม่เคยฟังเสียงตนเอง ไม่เคยได้ยินว่าฉันพูดอะไรออกไป การอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง เราจะได้ยินเสียงความคิดของตนเอง เมื่อเราเข้าใจตนเองมากขึ้น เราก็จะทำชีวิตให้ดีขึ้น ยกระดับจิตใจตนเองให้มีความสุขได้มากขึ้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง
โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม๊คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม เพื่อทำภารกิจในการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในครอบครัวและสังคม ได้เปิดพื้นที่และโอกาส เพื่อการพัฒนาเต็มศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครอบครัวได้มีพลังใจยืนหยัด และทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด และมีความสุขที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้ และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่” ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ฟังด้วยหัวใจ ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์
“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”
บทสนทนาลึกซึ้งถึงหัวใจ
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
The Last Life Lesson บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด อันลึกซึ้งถึงหัวใจ
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์เปิดมุมมองใหม่ในการสื่อสาร ฝึกปฏิบัติวิธีการดูแลผู้ป่วยด้วยการสื่อสารผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหวเพื่อเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง เพราะอาจเป็น ‘บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด แต่สามารถสื่อสารอย่างอันลึกซึ้งถึงหัวใจ’
ไขมันทรานส์ วายร้าย ทำลายสุขภาพ
รู้จักไขมันทรานส์ วายร้าย ทำลายสุขภาพ ไขมันทรานส์มาจากไหน ทำจากอะไร แฝงตัวอยู่ในอาหาร ขนม หรืออะไรที่เรารับประทานบ้าง แล้วเมื่อกินไขมันทรานส์เข้าไปแล้ว จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกายเราบ้าง อินโฟกราฟิกชิ้นนี้สรุปทุกเรื่องมารวมกันให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ในหน้าเดียว
สัญญาณของโรค ที่ถูกมองข้าม
การเช็คสุขภาพไม่จำเป็นต้องใช้เวลาและไปที่โรงพยาบาลทุกครั้ง ในทุก ๆ วันเราสามารถตรวจเช็คสุขภาพเราเองได้จากการสังเกตร่างกายเราอย่างง่าย ๆ อินโฟกราฟิกชิ้นนี้ จะบอกถึงสัญญาณอันตรายที่หากเกิดขึ้นกับร่างกายเราแล้ว เราไม่ควรมองข้าม ต้องรีบไปพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการดูแลรักษาต่อไปให้ทันท่วงที