trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "หลอก" พบ 13 ข้อมูล

ผู้ใหญ่..หลอกเด็ก Beware grooming

กลุ่มเยาวชนหรือวัยรุ่นเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเตอร์เนตมากที่สุดและอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ก็มีให้เห็นในข่าวทุกวันในสังคม อาชญากรบนโลกออนไลน์เหล่านี้ มักจะแฝงตัวมาในคราบคนดีที่เราคาดไม่ถึง ผู้ใหญ่..ใจดี ที่จริงอาจเป็นอาชญากรที่แฝงตัวมาหลอกให้หลงเชื่อ เพื่อล่อลวงไปสู่การละเมิดทางเพศและอาชญากรรมอื่นๆ เพราะผู้ใหญ่ (แปลกหน้า) ที่ใจดีมีแต่ในนิทานหลอกเด็ก หากหลงเชื่อคนง่าย รู้ตัวอีกทีอาจตกเป็นเหยื่อของเหล่าอาชญากรเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก

นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้

สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ

ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้

หนังสือเสียง กอริลล่าหลอกจระเข้

กอริลล่าแสนฉลาดออกอุบาย แสร้งทำเป็นให้เข้าใจว่าสองพี่น้องจระเข้เป็นก้อนหิน แต่แท้จริงกอริลล่ารู้อยู่แล้วว่า คือจระเข้ที่คิดจะจับตนเองเองกินเป็นอาหาร ตรงข้ามกับจระเข้สองพี่น้องช่างโง่เขลา จึงพลาดท่าให้กอริลล่าสามารถข้ามบึงน้ำไปได้อย่างปลอดภัย

ยักษ์กินน้ำตา

ยักษ์กินน้ำตา เป็นหนึ่งในผลงานจากโครงการนิทานสร้างสุข ซึ่งเป็นโครงการที่นำนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์นิทาน เข้าไปเปิดห้องเรียนการสร้างสรรค์หนังสือนิทานให้กับนักโทษในเรือนจำกลางบางขวาง เรื่องของยักษ์กินน้ำตา เป็น 1 ในเรื่องราวที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปเล่าให้เด็ก ๆ หยุดร้องได้อย่างสนุกและมีชีวิตชีวา เนื้อเรื่องว่าด้วยยักษ์ชอบให้เด็ก ๆ ร้องไห้ จะได้นำน้ำตาของเด็ก ๆ ไปใส่ขวดกินให้อร่อย เพราะฉะนั้นเด็ก ๆ ต้องอย่าร้องไห้ จะได้ไม่ถูกยักษ์เอาน้ำตาไปกิน

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง โชคที่มาไม่ถึง

การ์ตูนไทยในบทบาทสื่อสร้างสรรค์สุขภาวะ เนื้อเรื่องตอนนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ 'ทอง ทำบุ' และ 'นางลา' สองสามีภรรยา เป็นชาวมุกดาหาร ที่เข้ามาทำงานและอยู่กินที่เมืองหลวง ทองทำงานเป็น รปภ. อยู่ที่โกดังแห่งหนึ่ง พอทราบข่าวโฆษณาว่าน้ำดื่มบำรุงยี่ห้อหนึ่งหนึ่ง แจกโชค สะสมฉลากครบ 100 ชิ้น จะได้รับทีวีจอยักษ์ นายทองและนางลา จึงตั้งหน้าตั้งตาซื้อน้ำดื่มบำรุงกำลังกินจนครบ แต่พอเอาฉลากไปแลกกลับไม่เป็นดังหวัง ...เพราะแท้จริงนั้นคือ การโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค ซ้ำร้ายการดื่มน้ำดื่มบำรุงเกินขนาดจะผลเสียต่อสุขภาพ

ใจดีสู้สื่อ ตอน ดูดวง ใบ้หวย

การดูดวง ใบ้หวย เป็นสิ่งที่อยู่กับสังคมไทยมานาน กระบวนการสร้างสื่อในการดูดวงและใบ้หวย เน้นการโน้มน้าวใจที่เกินจริง มีการยัดเยียด อ้างถึงบุญกรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นกลยุทธ์ให้ลูกค้าหลงเชื่อ

ภัยร้ายกระเทยว๊าย

ผลงานหนังสั้นฝีมือเด็ก ๆ และเยาวชน สะท้อนให้เห็นภัยร้ายของการหลอกลวงในสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการพูดคุยนัดเจอกันในสื่อโซเชียลมีเดีย ที่มักเอารูปมาหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ เข้าใจผิด บางครั้งอาจต้องทั้งเสียใจ เสียตัว หรือเสียทรัพย์สิน 

Cyber Kid 10 ตอน การสั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ต

Cyber kid ตอนนี้ว่าด้วยภัยร้ายจากการสั่งซื้อของออนไลน์ ที่ผู้บริโภคทุกคนจำเป็นต้องรู้เท่าทัน เช็คข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะหากตกเป็นเหยื่อแล้ว บางครั้งนอกจากเสียเงินแล้ว ยังอาจอันตรายถึงชีวิตได้ 

เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน ภัยมือถือ

ปัญหาโลกแตกที่มาพร้อมกับความนิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือ  คือการโฆษณาเชิญชวนให้ดาวน์โหลดหรือทดลองใช้แอปพลิเคชันฟรี หรือการส่งข้อความ SMS มาให่อ่านข่าว ชิงรางวัลต่างๆ เพียงแค่เราเปิดดู  บางครั้งก็เสียเงินค่าโทรศัพท์มือถือไปมากมายโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นอย่างหลงเชื่อ และเปิดอ่านข้อความที่เราไม่คุ้นเคย หรือไม่น่าเชื่อถือ 

เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน จริงหรือหลอก

เด็กไทยทันสื่อ ICT ว่าด้วยการเรื่องของข้อมูลในโลกออนไลน์ ที่มีการเผยแพร่โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ จึงมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลหลอกลวง ทั้งแค่หลอกเล่น ๆ ไปจนถึงหลอกให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อต้องเสียเงินซื้อของหรือบริการ เด็ก ๆ จึงจำเป็นต้องไตร่ตรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับในโลกออนไลน์ก่อนตัดสินใจจะเชื่อทุกครั้ง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.