รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - กิตติเชษฐ์ สิริศรีพรชัย
เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘แสงที่ปลดปล่อยพันธนาการ’ โดย คุณกิตติเชษฐ์ สิริศรีพรชัย ที่ปรึกษาในการปรับสมดุลและแนะนำการไปสู่เป้าหมายของชีวิตด้วยการใช้ญาณทัศนะ กับมุมองการตื่นรู้ ที่ได้จากการสำรวจความทุกข์ของตัวเองและตระหนักว่า ‘ทุกอย่างอยู่ที่ใจ’ แท้จริงแล้วสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นเพียงสมมุติเพื่อใช้ในการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ เมื่อเราตื่นรู้เราจะมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงตนเองให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อยกระดับจิตวิญญาณและความสุขในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ทวีวรรณ กมลบุตร
บทความ เส้นทางสู่การตื่นรู้ “ลมหายใจเพื่อส่งต่อปีติสุข” โดย คุณ ทวีวรรณ กมลบุตร โค้ช วิทยากร ที่ทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ กับมุมมอง ‘วิชาชีวิต’ และเส้นทางสู่ ‘การตื่นรู้’ ที่ได้จากการสะสมการเรียนรู้ทักษะ ทั้งความรู้ในการพัฒนาตนเองในมิติต่าง ๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนในชีวิต ที่ได้กลายเป็นบทเรียนที่สร้างการเติบโตภายในและนำไปสู่การ “ตื่นรู้” ซึ่งทำให้ค้นพบความสุขที่แท้จริง ที่อยู่ในความว่างของความคิด เราจะพบกับความสุขได้ เมื่อใจสงบ เมื่อเรารู้ใจของเราเอง เมื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจความจริงแท้ของชีวิต
A2O - Q and A 5.บอร์ดเกม A2O เหมาะกับใคร
บอร์ดเกม A2O : AWAKE TO ONENESS เป็นบอร์ดเกมที่เหมาะกับผู้ที่สนใจการเดินทางภายใน หรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ต้องการใคร่ครวญตนเอง คนที่ศึกษามาแล้วจะทำให้สัมผัสความหมายของการเดินทางภายในที่แท้จริง ส่วนคนที่สนใจ และยังไม่เคยปฏิบัติทางจิตวิญญาณมาก่อนก็สามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน บอร์ดเกมนี้จัดทำขึ้น เพื่อให้คำตอบความหมายของชีวิต ตั้งแต่อายุ 16 ปี เป็นต้นไป
คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย
เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย” เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ
คู่มือชีวามิตร EP.5 ความปรารถนาที่แท้จริง
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทุกคนต้องการการดูแลรักษาที่ทรมานน้อยที่สุด ไม่เป็นภาระให้คนรอบข้างและจากไปอย่างมีคุณภาพ หนังสือ “ความปรารถนาที่แท้จริง” เป็นการแนะนำการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในวาระสุดท้ายของชีวิตและการทำ Living will ที่เป็นตัวช่วยในวันที่ผู้ป่วยสื่อสารไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจเจตนาในการเลือกวิธีการรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยจริง ๆ เพราะการทำตามเจตนาของผู้ป่วยนอกจากจะเป็นการลดความทุกข์ใจของผู้ดูแลที่ต้องตัดสินใจแล้ว ยังถือเป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุด ที่ตรงตามความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ที่จากไป มาเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 5 ความปรารถนาที่แท้จริง” เพื่อให้การวางแผนในชีวิตระยะท้ายมีคุณภาพ พร้อมจากไปแบบทุกข์ทรมานน้อยที่สุดอย่างที่ตั้งใจ
คู่มือชีวามิตร EP.4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย
เชื่อว่ามีหลายคนที่ตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตบั้นปลายโดยเฉพาะการดูแลรักษาด้านสุขภาพอย่างไร “จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” คลิปวิดีโอที่จะแนะนำถึงสิ่งสำคัญ ในเรื่องการวางแผนทางการเงิน สิทธิขั้นพื้นฐาน สวัสดิการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและหนังสือมอบอำนาจต่าง ๆ ให้เราได้เรียนรู้การวางแผนและเตรียมตัว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี มาเรียนรู้การวางแผนทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” เพื่อเตรียมพร้อมจัดกระเป๋าเดินทางสู่ลมหายใจสุดท้าย ด้วยความสบายใจและหมดห่วง
คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี
เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ “ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” จะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน
คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา
ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”
คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้
เมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว แน่นอนว่าทุกคนอยาก “รักษาให้ถึงที่สุด” แต่ถ้าความเจ็บป่วยเดินทางมถึงระยะสุดท้าย เราควรเลือกการรักษาแบบไหนดี? เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างและยื้อความเจ็บปวดให้ยาวนานยิ่งขึ้น “ทางเลือกที่เลือกได้” คู่มือที่ช่วยแนะนำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขให้แก่ผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้คนที่เรารัก “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
Trailer ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข
ความเจ็บป่วย ความชรา และช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต เป็นธรรมชาติที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาร่วมเรียนรู้ไปกับคลิปวิดีโอ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข” ทั้ง 12 ตอน ที่จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของการ “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ได้อย่างลึกซึ้งและเป็นจริง
รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี