trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สู" พบ 210 ข้อมูล

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี

ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

สังคมอริยะชน Part 2 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม

สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง

เราจะเป็นมิตรกับตนเอง ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การเป็นหนึ่งกับตัวเองอย่างมีคุณค่า” โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ถ่ายทอดสดจากงาน Wake up ONE : Writers & Stars Awakening Workshop กิจกรรม Wake up ONE เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

We Oneness คือ

We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน  ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม

หลักสูตร วิชาชีวิต

หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข        

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ

ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม  แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่

 เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ  ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา  ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง

สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ

ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน คาถาสูงวัยรู้ทันสื่อ

ผู้สูงอายุ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่บ้าน  บางครั้งก็จะถูกสื่อต่างโฆษณาเชิญชวนให้มีความอยากซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เกินความจำเป็น ผู้สูงอายุจึงต้องมีคาถาในการรู้เท่าทันสื่อทั้งหลาย ว่า จำเป็นไหม...ไปหาข้อมูลก่อน...เดือดร้อนใครหรือไม่  ท่องไว้ให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการตามคำโฆษณา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.