trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สู" พบ 210 ข้อมูล

ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของ อวยพร เขื่อนแก้ว

อวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทย ผู้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมาเนิ่นนาน  เธอได้เห็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติของ “หลวงแม่ธัมมนันทา” ภิกษุณีองค์รูปแรกของเมืองไทย (เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี) ที่ได้ขับเคลื่อนประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง โดยที่ท่านเป็นผู้นำแนวหน้าเรื่องสิทธิสตรีในพุทธศาสนาระดับโลก ตั้งแต่นั้นมาคุณอวยพรได้ศึกษาเรื่องการทำงานบนฐานความเมตตากรุณาแทนการทำงานที่ถูกผลักดันจากความโกรธ ความไม่พอใจที่เห็นความไม่เป็นธรรม คุณอวยพรจึงเริ่มทำงานเรื่องสิทธิสตรีแนวพุทธ ที่เน้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปรจิตใจตนเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลงด้วย ทั้งภายนอกและภายในที่ผสานสอดคล้องไปด้วยกัน โดยมีชื่อเรียกกลุ่มตัวเองว่า “บุดดิสท์ เฟมินิสต์” (Buddhist Feminist Activist) หรือนักสตรีนิยมแนวพุทธ  อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่

Flok Rice พันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ที่เกิดจากริเริ่มจากการ “อกหัก”  ขออนุกูล ทรายเพชร อดีตเด็กวัด ที่เกิดมาเป็นลูกชายของชาวนา แต่กลับบอกแม่ให้ขายที่นา เพื่อส่งตนเองรียนวิศวกรรมศาตร์ สายอินเตอร์ฯ แต่สุดท้ายก็ไม่ปลื้มจนกระทั่งมาสอบเข้าศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้าน area studies ที่คณะสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาอนุภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   หลังจากจบการศึกษามีความรู้สึก “ดาวน์และดาร์ก” ด้วยบาดแผลจากระบบการศึกษา จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเช่าที่นาเพื่อปลุกข้าวอินทรีย์ และทำการตลาดผ่านออนไลน์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Flok Rice”  ที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มความโดดเด่นด้วยการหุงข้าวให้ชิมหลากหลายสายพันธุ์ ..ปัจจุบัน“Flok Rice” มีออเดอร์หลักพันตัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

หมอต้นไม้ เมตตาธรรมค้ำจุนโลกสีเขียว

“หมอต้นไม้” คือ การดูแลรักษาต้นไม้เก่าแก่ให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อท าหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ ส าหรับบ้านเราเพิ่งเริ่มได้ยินคำนี้ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยมี “ศาสตร์จารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ” เป็นหมอต้นไม้รุ่นบุกเบิก และต่อมา “อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย” คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้น าแนวคิดหมอต้นไม้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ธรรมชาติบำบัด หมอที่ดีที่สุดคือ ตัวเราเอง

อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com

เปิดโลกอาสา : โครงการเพื่อผู้สูงอายุ forOldy Project

 คุณรู้จัก “จิตอาสา” มากน้อยแค่ไหน งานจิตอาสามีหลากหลายรูปแบบ ธนาคารจิตอาสา ร่วมกับ เพื่อนๆ จิตอาสา ชวนทุกคน ...เลือกเวลาที่ใช่ กับกิจกรรมที่ชอบ... เปิดโลกอาสา กับ โครงการเพื่อผู้สูงอายุ หรือ for Oldy Project เกิดจากความรักและกตัญญูที่ต้องการดูแลคุณแม่ที่อายุมาแล้ว เผื่อแผ่ไปยังผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั้นคือแรงบันดาลใจในการก่อตั้งโครงการนี้ ที่ไม่ได้ทำอะไรเยอะ แต่เน้นการเอาใส่ใจ ดูแลและมอบโอกาสแห่งความสุขให้กับผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตปั้นปลายอย่างมีคุณภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ สนใจงานจิตอาสา คลิก www.JitArSaBank.com  หรือติดต่อ โครงการเพื่อผู้สูงอายุ (forOldy Project) คลิก www.foroldy.com                

Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น

คุณอรทัย ชะฟู  จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน  ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ

วิชาชีวิต ตอน เตรียมประคับประคอง : การต่อสู้ระหว่าง ความรัก กับ ความรัก เปิดใจถามโดยดีเจพี่อ้อย

จากประสบการณ์การรักษาทางการแพทย์ คนเราจะรู้ตัวว่าจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ประมาณ 3 เดือนก่อนช่วงสุดท้าย ทีมผู้ดูแลต้องเรียนนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วย “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” การดูแลแบบนี้เป็นการมอบความสุขสุดท้ายของชีวิตให้ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การรักษาทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิต จิตใจ และความต้องการที่ค้างคาใจของผู้จากลาให้จากไปอย่างสงบในชีวิตจริง ๆ   ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข หรือ Living Will เพื่อต้องการวางแผน “ตายดี” ไม่ต้องการทุกข์ทรมาน ดังนั้น ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ต้องเรียนรู้ และหารือพุดคุยกัน เพื่อการเตรียมประคับประคองการต่อสู้กันระหว่าง “ความรัก “ ความห่วงใยที่ไม่อยากให้คนที่รักเจ็บปวด กับ “ความรัก” ความอาลัยที่ไม่อยากจากคนที่รัก

ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว  

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง วิทยาศาสตร์ โดยนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล

“ผมมองว่าการตื่นรู้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร แต่เป็นมุมมองชีวิต เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นศักยภาพพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมี” "มนุษย์มีศักยภาพที่จะตื่นรู้ เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่ แค่ร่างกาย การตื่นรู้ในมุมของผมจึงไม่ใช่ความสามารถพิเศษ (Extra Ability) แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่สุด (Minimal Requirement) ในการเป็นมนุษย์” (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน") - หมอปอง -

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง ปรัชญา โดย ดร เมธา หริมเทพาธิป

เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.