Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุข" พบ 825 ข้อมูล

คลายโศก

ความสูญเสียจากคนที่เรารักย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้า การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ทุกชีวิตสามารถฟื้นฟู เยียวยา และดูแลตนเองได้ ขอเพียงเรามีกันและกัน  และระลึกไว้เสมอมว่าความตายเป็นความจริงของชีวิต เราทำดีที่สุดแล้วในการส่งคนที่เรารักเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่อย่างมีความสุข  และเราเองก็ต้องก้าวต่อไปเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อดูแลครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างเรา

แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย

บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข

เก็บสุข กลางทุกข์

คนที่ต้องเผชิญความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งผู้ป่วยเอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กระทั่งบุคลากรสุขภาพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้าย ย่อมหลีกหนีความรู้สึกโศกเศร้าและเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกความรู้สึกนั้นให้เป็นพลังใจที่แข็งแกร่งขึ้นมา  ใช่ !!! นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราจะค้นหาความสุข ท่ามกลางความทุกข์ได้ด้วยวิธีไหน ? อย่างไร ?  หนังสือเก็บสุข กลางทุกข์ จะพาไปพบคำตอบจากบันทึก 23 เรื่อง จาก 14 ผู้เขียนที่จะแบ่งปันแนวคิดและทัศนคติเชิงบวก แนะวิธีการปฏิบัติตนอย่างมีสติ เตรียมตัวและเตรียมใจในการรับมือ รวมทั้งบอกเล่าการเติมเต็มหัวใจที่โศกเศร้าให้อบอุ่นจากกำลังใจคนรอบข้าง เพื่อส่งแรงหนุนให้เราก้าวข้ามเรื่องราวต่าง ๆ ไปอย่างเข้มแข็ง

สมุนไพรในพระไตรปิฎก

ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป 

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย

หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย

หนังสือ “การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย” เล่มนี้เป็นการสืบค้น ประมวลหลักฐาน วิเคราะห์ บันทึกต่าง ๆ ที่เก่าแก่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ ที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย อีกทั้งการดูแลสุขภาพในทัศนะของพุทธศาสนาและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาการนวดไทยต่อไป

การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา

หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

สืบจับกรุ๊ปเมา ทีมพเนจรจัด

หนังสั้น สืบจับกรุ๊ปเมา โดย ทีมพเนจรจัด (นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามและวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ) เป็นผลงานซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ ในโครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   โดยหนังสั้น ได้เล่าเรื่องการสืบสวนหาตัวคนกระทำความผิดจากเหตุการณ์รถชนกันจนผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้รับบาดเจ็บ และกุญแจสำคัญที่ไขปริศนาและหาตัวผู้ทำความผิด “ดื่มแล้วขับ”  ก็คือ “การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารแอลกอฮอล์”  

DrinkandDriveStory ทีมArt Gallery

Drink and Driver Story โดย ทีม Art Gallery (นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม) เป็นหนังสั้นที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  หนังสั้นเรื่องนี้ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนกลับไปยังต้นเหตุของเหตุการณ์ที่ชายหนุ่มคนหนึ่งรู้สึกงุนงงว่าเหตุใดจึงถูกเจาะเลือด  แล้วความทรงจำเขาก็ค่อยๆ ชัดเจนขึ้น จนพบความจริงที่น่าสะพรึงกลัวก็คือ ฆาตรกรที่ฆ่าน้องสาวของเขา ก็คือ เขาเอง

Late Night Ads ทีมThe1310

Late Night Ads โดย ทีมThe1310 เป็นหนังสั้นฝีมือการผลิตของกลุ่มคนทำสื่ออิสระ ที่เล่าเรื่อง ของ “สมโพช ”หนุ่มพนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ได้รับแรงกดดันจากหัวหน้างานจนเกิดความเครียดและเก็บกด ในวันหนึ่งสมโพชเห็นคลิปโฆษณา “เบียร์ไอเบกซ์เซอร์” บนเฟซบุ๊กของเขา อิทธิพลของโฆษณานี้ทำให้เขาเกิดความอยากดื่มและตัดสินใจโพสต์ชวนเพื่อนไปดื่มสังสรรค์ที่บาร์เบียร์แห่งหนึ่ง และโฆษณานี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สมโพช ไม่ได้กลับมาเต้นเพลงแจ๊สแบบที่เขาชอบอีกต่อไป หนังสั้นเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แถวตรง : ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น

“แถวตรง”  โดย ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น เป็นหนังสั้นที่ผลิตขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจาะเลือดตรวจเพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์  อีกหนึ่งมาตรการในการกวดขันและเอาจริงเอาจังประเด็น “เมาแล้วขับ” การเล่าเรื่องมีการนำคนมาแสดงเป็น “เลือด” และ “แอลกอฮอล์”  เพื่อสื่อให้เห็นถึงโทษเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้าคู่กรณี หรือตำรวจสงสัยว่าเมาสุราสามารถสั่งให้หยุดรถและสั่งให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจได้ โดยถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุก 1 ปี, ปรับ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ และยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน  

keyboard_arrow_up