Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุขภาวะทางปัญญา" พบ 67 ข้อมูล

วิทยาศาสตร์ อำนาจ และครู : วิลาวัลย์ สินธุประภา

วิลาวัลย์ สินธุประภา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ครูในโครงการครูกล้าสอนกับความกลัวและมุมมองในการสอนก่อนเข้าร่วมอบรมในโครงการและสิ่งที่ได้รับภายหลังเข้าร่วมในโครงการ ทั้งเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพและทบทวนบทบาทของตัวเอง แรงบันดาลใจในการสร้างคุณค่าให้กับครูผู้สอนในการพัฒนาคน มุมมองการสอนที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถนำมากระตุ้นให้นักเรียนเปิดรับกับวิชาที่เรียนและสนุกไปกับการเรียนในชั้นเรียนได้

บทความจากนิตยสารสุขแนะนำโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” เป็นหลักสูตรสำหรับครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ครูได้ทบทวนชีวิตความเป็นครู ด้วยการยอมรับตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่อาจจะไม่สมบูรณ์แบบพร้อม แต่พร้อมเปิดใจรับฟังและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนผู้เรียน เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและเข้าใจและเอื้อต่อการเกิดพลังสร้างสรรค์ โดยครูที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะต้องผ่าน 3 ชุดการเรียนรู้ คือ 1. “ครูผู้ตื่นรู้ในตนเอง” เพื่อให้ครูฟื้นฟูพลัง และเข้าใจตนเอง  2. “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” ฝึกทักษะตั้งคำถามเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวนักเรียน และ 3. “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ฝึกทักษะการออกแบบการเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง

โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้

ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน

อาจารย์น้อย ดร.สุขมิตร กอมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครูในโครงการครูกล้าสอนรุ่นที่ 1 ได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้จากหลักสูตรในโครงการครูกล้าสอนและกระบวนการลดความขัดแย้งมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กรและสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงได้นำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน  

ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง

ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป

แนะนำโครงการครูกล้าสอน

บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน”  ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย

หนังสือ 'จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย' เป็นหนังสือโดยโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผู้นำจิตอาสาด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการจิตอาสาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความเป็นมาของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ส่วนที่สอง เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำงานจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ให้มองเห็นเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และส่วนสุดท้ายคือแผนที่ความดี รวบรวมสถานที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร โดยแบ่งข้อมูลเป็นภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีชื่อองค์กร ประเด็นการทำงานขององค์กร สถานที่ติดต่อ และลักษณะงานอาสาสมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจได้สามารถเลือกงานอาสาที่ตรงใจและเหมาะสมกับทักษะที่มีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ

อ่านสร้างสุข 22 การ์ตูนศิลปะทรงพลัง สร้างยอดนักอ่าน

อ่านสร้างสุข ฉบับนี้ เราจะมาเรียนรู้การอ่านของเด็กวัยการ์ตูน ซึ่งมีอายุก่อน 12 ปี มีคำกล่าวว่า  “ธรรมชาติของสมองจะรับ จดจำ มีความสุขจากภาพ” นั่นคือ เสน่ห์ของหนังสือการ์ตูน ที่สามารถดึงดูความสนใจของเด็กได้ด้วยภาพ สีสัน ทำให้เด็กเพลิดเพลินในการอ่าน และมีความสนุกกับการอ่าน  การ์ตูนจึงเป็นหนังสือทรงพลังที่กระตุ้นและปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.