trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุขภาพ" พบ 329 ข้อมูล

สื่อศิลป์ SE - ประทีป อ่อนสลุง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม

บริษัท ไทยเบิ้ง โคกสลุง จำกัด ต.โคกสลุง จ.ลพบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชน พี่มืด - ประทีป อ่อนสลุง ผู้ประสานงานหลักไทยเบิ้งโคกสลุง เล่าว่าการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นการทำงานที่ไม่มีวันเสร็จ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อมาสืบสานงานต่อเสมอและเน้นการทำงานที่สร้างสมดุลระหว่าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” เพราะถ้าคุยกันแต่เรื่องกำไรผลประโยชน์ ความยั่งยืนของชุมชนก็ไม่มีวันเกิด เราจำเป็นต้องสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นเด็กและเยาวชนให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เราต้องเอาแนวคิดร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นให้มีคุณค่า ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เราต้องถอดบทเรียนสร้างเป็นหลักสูตร เพื่ออบรมและสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_YlnYKqe/

สื่อศิลป์ SE - ชมพิศ ปิ่นเมือง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม อำเภอสหัสขันธ์

บริษัท สหัสขันธ์ จูราสสิก แอนด ทราเวล จำกัด หนี่งในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่นำความโดดเด่นของพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ มาพัฒนาให้เป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ คุณชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหัสขันธ์ สะท้อนแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยนำการท่องเที่ยวเป็นแกนกลางในการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดการต่อยอดไม่สิ้นสุดโดยนำความเชื่อและศรัทธาของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาร้อยเรียงเข้ากับคุณค่าของโบราณสถานอย่างวัดวาอาราม หรือ การค้นพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ใหญ่เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอันโดดเด่นต่อการต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาที่ อ.สหัสขันธ์ และได้มีการส่งต่อคุณค่าของชุมชนด้วยการอบรมมัคคุเทศก์ที่หลากหลายวัย ให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณค่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_JoG6-1L/

สื่อศิลป์ SE - สกาวกวิน กาญจนเสมา กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/

สื่อศิลป์ SE -เพ็ญจมาส ศิริกิจวัฒนา : กับ SE ย่านบ่านซ้าน ภูเก็ต

วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต แม้จะเป็นน้องใหม่ในการก้าวสู่การทำงานร่วมกับ สสส. และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ แต่การเริ่มต้นจาก “ทุนวัฒนธรรม” ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.ภูเก็ต นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนได้ไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตและความเชื่อของคนภูเก็ตที่มีความหลากหลาย ทั้งการกินของคนภูเก็ตที่กิน วันละ 7 มื้อ เทศกาลถือศีลกินผัก , การเดินที่มีเสน่ห์ด้วย “รถโพถ้อง” สองแถวนำเที่ยว สัมผัสย่านการค้าเก่าที่สำคัญ ของ จ.ภูเก็ต หรือ “อังมอเหลา” คฤหาสน์เก่าของนายเหมือง จ.ภูเก็ต ทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็นพลังให้วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต ถูกบอกต่อ และส่งพลังไปสู่วงกว้างได้ในอนาคตอันใกล้นี้   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jPZudJKye-/

สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน”  ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี  โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น  และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป  https://fb.watch/im2Aoy0PgO/     

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด

อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ

วันทุกข์ที่ผ่านพ้น รวมเรื่องสั้น อ่านยาใจ อ่านเพื่อหัวใจอิ่มสุข

ทุกครั้งที่เราเผชิญกับความทุกข์ ความคิดและตัวของเราเอง คือ เพื่อนที่คลายความทุกข์ที่ดีที่สุด วันทุกข์ที่ผ่านพ้น หนังสือรวมเรื่องสั้นที่จะช่วยเป็นยาใจและคลายทุกข์ให้กับผู้อ่านผ่านตัวละครต่างๆ ที่เกิดจากขบวนการการเขียนระบายความความทุกข์ของผู้เขียน จนเกิดเป็นเรื่องราวที่สวยงามและแตกต่างกัน16เรื่อง ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกจากผู้ทรงวุฒิทั้งด้านของสุขภาพจิตและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเขียนวรรณกรรม โดยแต่ละเรื่องมีจุดเด่นคือปมที่ถูกคลี่คลายเพื่อคลายความทุกข์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต

รายงานสุขภาพคนไทย 2564

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564  ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19

การปฎิบัตตัวของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโควิด

อินโฟกราฟิกแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19 เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงผู้สูงอายุ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากต้องออกนอกบ้านและหมั่นล้างมือ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองและทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เป็นประจำร่วมกันในบ้าน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยแอลกอฮอล์

วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิด

เมื่อต้องกักตัว 14 วัน อินโฟกราฟิก วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิดและผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ กับ 6 ขั้นตอนการรับมือ ตั้งแต่วิธีการเตรียมที่พักและอุปกรณ์ที่จำเป็น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทั้งกรณีที่อยู่คนเดียวและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งควรงดเว้นกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นเฝ้าสังเกตุอาการตัวเอง หากพบว่ามีไข้ร่วมกับอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทราบเพื่อประสานการรับตัวไปรักษาต่อไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.