ทัน 5 โรคฮิตคนติดโซเซียลมีเดีย
ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ
รู้ทันโปรโมชั่นค่าโทร ฮัลโหลต้องไม่เกิน 99 สตางค์
กสทช. ออกประกาศควบคุมอัตราค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้บริษัทที่บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องคิดค่าบริการไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ หากผู้ใช้บริการพบไม่เป็นตามประกาศ โทร. สายด่วน 1200 กสทช.
ระวังภัย ซ่อนสอนลูก เมื่อเด็กดูทีวี
การนั่งดูทีวีกับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด ทำให้สามารถคัดเลือกรายการดี ๆ เพื่อดูร่วมกัน รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ระหว่างโลกจริงและโลกสมมติ ที่สำคัญยังได้หลีกเลี่ยงภัยที่ซ่อนอยู่ในจอทีวี ทั้งการพูดจาก้าวร้าว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาเกินจริง
การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก
ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ
ยิ่งเล่น ยิ่งโต
สถาบันวิจัยด้านเด็กและวัยรุ่นของอังกฤษ (Childwise) ยืนยันว่าการเล่นช่วยพัฒนาและเสริมสร้างทักษะให้เด็กมีความคิดที่สร้างสรรค์ แก้ปัญหาเป็น เรียนรู้ และปรับตัวในการร่วมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี ...วันนี้คุณพ่อคุณแม่ชวนเด็ก ๆ ผละจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แล้วออก มาเล่นกันวันละ 60 นาที รับรอง “ยิ่งเล่น ยิ่งโต”
การ์ตูน กระต่ายอวกาศ
'กระต่ายอวกาศ' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวของครอบครัวกระต่ายที่อยู่อาศัย ณ ดาวดวงหนึ่งในกาแล็คซี่อันกว้างใหญ่ ก็ยังมิวายได้รับอิทธิพลจากโฆษณาออนไลน์ ในวันเกิดของลูกกระต่าย ป๊ากระต่ายอยากจะเซอร์ไพร้ส์ลูกด้วยหุ่นยนต์ตัวใหม่ที่โฆษณาลดราคาออนไลน์ แต่พอซื้อมาสินค้ากลับไม่เหมือนโฆษณา จนทั้งป๊าและลูกน้อยเกือบต้องกลายเป็นกระต่ายทอด เรื่องราวสนุก ๆ ผูกเรื่องอย่างทันสมัย อารมณ์ขำขันในยุคโฆษณาออนไลน์ จะจับหัวใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้เพลิดเพลินติดตามไปได้ตลอดทั้งเรื่องอย่างไม่เบื่อหน่ายเลย
รายการ อุ้ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์ จะเลือกอะไรอ่ะ
รายการอุ๊ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์...จะเลือกอะไรอ่ะ? น้อง ๆ พิธีกรสาวหน้าใส จะพาไปพูดคุยกับคนดี 10 ที่ค่ายสิรินธร จ.ปทุมธานี พร้อมกับโจทย์สำคัญ ถ้าให้เลือกได้จะเลือกดื่มอะไรระหว่าง 'น้ำเปล่า' และ 'น้ำอัดลม' พร้อมทั้งสรุปข้อดีข้อเสียของน้ำเปล่าและน้ำอัดลมไว้อย่างน่าสนใจ ไปติดตามน้อง ๆ กัน
เม้าท์มอยคิดส์ โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
รายการเม้าท์มอยคิดส์ คลิปวิดีโอฝีกมือน้อง ๆ และคุณครูจากโรงเรียนเผือกอนุสรณ์ ตอนนี้เป็นเรื่องราวของ ภัยจากน้ำซ่าส์ สะท้อนพฤติกรรมรวมถึงให้ข้อมูลเตือนภัยการดื่มน้ำอัดลมที่เด็ก ๆ ชอบดื่มกันเป็นประจำ โดยที่ไม่เคยรู้ว่ามีภัยต่อสุขภาพเป็นผลข้างเคียง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
คลิปวิดีโอประมวลกิจกรรมของคุณครูและเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) ภายใต้แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม
แผ่นพับสำรวจตัวเองว่าติดเกมหรือไม่
หลายคนเล่นเกม เล่นเยอะ เล่นจนไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายติดเกมหรือเปล่า? ถ้าอยากได้คำตอบ ลองมาสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วยแผ่นพับสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายติดเกมหรือไม่? ถ้าสำรวจแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นคนติดเกมก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ มีวิธีช่วยเหลือแก้ไขอาการติดเกมเบื้องต้นมาให้ศึกษาพร้อมกันด้วยในสื่อเดียว
การสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
ข้อมูลสถิติการสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 40 สถานี ระบบเอเอ็ม จำนวน 36 สถานี จำแนกตารางผลสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายและจำแนกตามรายสถานี (แสดงเวลาการออกอากาศรายการเป็นนาทีต่อสัปดาห์)
งานวิจัยเกี่ยวกับวิทยุเพื่อเด็กและเยาวชน
บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของแผนภาพและข้อสรุปที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต