ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
การสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์และเทคนิคการสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลือกศึกษาการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟซบุ๊ก ของแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุดในช่วงหลักพันล้านบาทถึงหลักล้านบาท และเป็นแบรนด์ที่มีเพจจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไปโดยมีความเคลื่อนไหวอัพเดทสถานเนื้อหาและข้อความตลอดระยะเวลาการศึกษา ทั้งนี้ระยะเวลาการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันสำคัญทางศาสนาและการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และช่วงเหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนในการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในสังคม
จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมอาหาร
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมอาหาร ได้ลงพื่นที่มัสยิดบ้านตึกดิน ชุมบางลำพู จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมบ้านบาตร
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมบ้านบาตร ได้ลงพื่นที่ชุมชนบ้านบาตร จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรี
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรีได้ลงพื่นที่ชุมชนนางเลิ้ง จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
กลุ่มอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน
ผลงาน กลุ่มอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้) ได้ลงพื่นที่วัดโพธิ์เรียง ซอยจรัญสนิทวงศ์ 18 จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.