trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สื่อ" พบ 1143 ข้อมูล

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562

ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story  กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม  เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง  ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน”  นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ

การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร

สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน

วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท

ต่างวัย ต่างใจอาสา

งานจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ทำได้ตั้งแต่เด็กจนผู้สูงอายุ เพียงเราเลือกงานที่ชอบ และตามความสามารถของเรา ถ้าเป็นวัยเด็กแนะนำให้ตามคุณพ่อคุณแม่ไปทำงานอาสาที่วัดหรือโรงเรียน พอโตมาอายุ 3-12 ปี อยู่ในช่วงชอบการเรียนรู้ เชื่อมโยงสิ่งรอบตัว งานอาสาที่เหมาะสม คือการจัดสวน ทำงานศิลปะ มาถึงช่วงวัยรุ่น เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง งานจัดพื้นที่สร้างสรรค์ สอนวาดรูป ในวัยทำงานเราเลือกงานอาสาได้ตามความถนัดในอาชีพเลย แม้ยามชรางานอาสาที่มีคุณค่า มากประสบการณ์ คือ การนำชม นำทัวร์ชุมชม แค่คิดจะทำงานอาสา เราก็สามารถลงมือได้ง่าย เริ่มต้นที่ตัวเรา...สนใจทำงานอาสา คลิก www.JitArSaBank.com 

สนทนาปิดกิจกรรมอย่างไรให้ ดีต่อใจ

ธนาคารจิตอาสา ถอดบทเรียนหลังจบกิจกรรมงานอาสา ควรมีการสนทนาพูดคุยกันเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้รับเริ่มจาก เชื่อมโยงความรู้สึกของตนเองกับงานอาสาที่ทำวันนี้ ทบทวนถึงอุปสรรคหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น เราสามารถก้าวข้ามได้อย่างไร จากนั้นขบคิดใคร่ครวญเพื่อเรียนรู้จากหรือสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานอาสานั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงว่างานอาสาได้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างไร

ทักษะการเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา

การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่องการตระหนักรู้เพื่อสะท้อนตนเอง ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจโลกภายในตนเอง มีความสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ต้องมีทักษะการดูแลความสัมพันธ์ในชีวิตและงานอย่างสมดุล รวมทั้งมีทักษะการคิดด้วยการมองภาพรวมและเชื่อมโยงมิติทางสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะมาช่วยสร้างเสริมการออกแบบกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาทางปัญญา

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

ตายแล้วโปรไฟล์เฟซบุ๊กไปไหน จัดการมรดกดิจิตอลของเราก่อนวันที่บัญชีต่างๆ จะออฟไลน์ไปตลอดกาล

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson   จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมลของเราเมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป รูปที่โพสต์จะยังอยู่ไหม เพื่อนของเราจะกลับเข้ามาอ่านข้อความเก่าที่เคยคุยกับเราได้หรือเปล่า

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ

คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว  

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 46 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2562

ศิลป์สร้างสุข ประจำเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2562 มีเรื่องเด่นประจำฉบับ ที่คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ต้องเปลี่ยนค่านิยมเก่า ๆ ที่บอกว่าเด็กอ้วนน่ารัก  เพราะแท้จริงเด็กที่น้ำหนักตัวมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย  โครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” ได้รณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมของเด็กให้ลดหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก ผลไม้  นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวความสามารถของเยาวชน กับการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”  และยังพบสาระต่าง ๆ มากมายอีกภายในเล่มนี้

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.