trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สื่อเด็ก" พบ 334 ข้อมูล

การ์ตูน ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์

'ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์' เป็น 1 ในชุดนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวการ์ตูนสนุกๆ อ่านง่ายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการติดหน้าจอของเด็ก ๆ ในยุคนี้ เนื้อเรื่องเป็นโลกแห่งจินตนาการ เมื่อเด็ก ๆ ที่ติดหน้าจอต้องเข้าไปติดอยู่ในโลกไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ เด็ก ๆ จะออกมาจากไซเบอร์แลนด์ได้ ก็ต่อเมื่อหาคำตอบของการรู้เท่าทันในการใช้สื่อโซเชียลได้เท่านั้น 

การ์ตูน วัยปั่นป่วน ก๊วนสาวแชร์

'วัยปั่นป่วน ก๊วนสาวแชร์' เป็น 1 ในผลงานโครงการนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องของการ์ตูนเล่มนี้สะท้อนเรื่องของการแชร์โพสต์ในโลกโซเชียลโดยไม่รู้เท่าทัน ก๊วนสาวน้อยในการ์ตูนเล่มนี้ พอเห็นภาพเพื่อนกำลังใช้เชือกดึงลูกหมา ก็ตัดสินตามชาวโซเชียลที่ไม่รู้ข้อมูลว่าเป็นการทรมานสัตว์ ทั้งที่เรื่องจริงนั้นตรงกันข้าม เป็นการสะท้อนแง่คิดมุมมองที่เหมาะกับคนโซเชียลยุคนี้ได้รู้เท่าทันและคิดให้รอบคอบก่อนโพสต์และแชร์เรื่องราวต่าง ๆ   

การ์ตูน ดีลีท

'ดีลีท' เป็น 1 ในผลงานโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นปัญหาการไม่รู้เท่าทันสื่อของเด็ก ๆ ในยุคดิจิทัล ทำให้เกิดปัญหาตามมาต่าง ๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังเช่นตัวละครเอกในเรื่องที่นึกสนุกถ่ายภาพของเพื่อน ๆ แชร์ในโลกออนไลน์ แล้วคิดว่าแค่เพียง 'ดีลีท' ทุกอย่างก็จะหายไป ก่อนที่สุดท้ายเด็กน้อยจะได้เรียนรู้ว่า บางอย่างในโลกออนไลน์หรือในชีวิตจริงไม่สามารถ 'ดีลีท' ได้อย่างแท้จริง

นิทานภาพ หนูมาลีกับสีฝุ่น

'หนูมาลีกับสีฝุ่น' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' หนังสือเล่มนี้เป็นนิทานภาพเรื่องสั้น ๆ ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ประเด็นเท่าทันสื่ออย่างง่าย ๆ จากเหตุการณ์ของหนูมาลีกับแมวที่ชื่อสีฝุ่น เหตุการณ์มีจุดเปลี่ยนผันเมื่อหนูมาลีได้ของขวัญเป็นโทรศัพท์จากแม่ ทำให้หนูมาลีติดหน้าจอจนลืมสีฝุ่นแมวของเธอ ทำให้สีฝุ่นต้องเจอกับเหตุการณ์น่าเศร้า 

นิทานภาพ หมาป่ากับลูกแกะ

'หมาป่ากับลูกแกะ' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' หนังสือเล่มนี้เป็นนิทานภาพเล่าเรื่องราวของหมาป่ากับลูกแกะ ตัวละครที่คุ้นเคยจากนิทานอีสปในบริบทใหม่ในโลกดิจิทัล เหตุการณ์ที่หมาป่าตัวร้ายพยายามใช้สื่อออนไลน์มาใส่ร้ายลูกแกะ แต่โชคดีที่ลูกแกะน้อยและเพื่อน ๆ สัตว์ในป่ารู้เท่าทันการใช้สื่อออนไลน์ จึงสามารถจัดการเจ้าหมาป่าได้อยู่หมัด 

นิทานภาพ กระต่ายน้อยไม่ตื่นตูม

'กระต่ายไม่ตื่นตูม' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของครอบครัวในการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมทักษะรู้ทันสื่อให้กับเด็ก นำเสนอผ่านเรื่องราวของครอบครัวกระต่าย เมื่อคุณแม่กระต่ายเปิดนิทานออนไลน์ให้ลูกดู แล้วต้องเจอโฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ ทำให้ลูกกระต่ายน้อยเกือบหลงเชื่อ แต่โชคดีที่คุณแม่และคุณพ่อกระต่ายสอนให้ลูกรู้เท่าทันสื่อ ลูกกระต่ายจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณา 

นิตยสารดีจัง เล่มที่ 3 ฉบับรู้เท่าทันสื่อ

นิตยสารดีจัง ฉบับ 'เล่นลม ล้อคลื่น กลางสึนามิสื่อ' เปรียบยุคสื่อสารดิจิทัลเป็นสึนามิสื่อที่ถาโถมให้เราต้องต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ฉบับนี้จึงเจาะลึกประเด็นรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) การสร้างพลเมืองประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล พบกับคนทำงานด้านรู้เท่าทันสื่อที่จะมาสะท้อนแนวคิด มุมมอง การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน ข่าวสารการรู้เท่าทันสื่อจากทุกมุมโลก และตัวแทนเยาวชนผู้มีมุมมองรู้เท่าทันสื่อที่เป็นแบบอย่างและน่าสนใจ 

นิตยสารดีจัง เล่มที่ 2 ฉบับอยู่ดีกินหอมหวาน

นิตยสารดีจัง ฉบับ 'อยู่ดี กินหอมหวาน' พาผู้อ่านไปร้อยเรียงเรื่องราวผ่าน 'การกิน' ในแง่มุมหลากหลายมิติ ทั้งวิถีชีวิต ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุคปัจจุบัน พลิกมิติมุมมองผ่านอาหารการกินในบางแง่มุมที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน ให้ได้มองเห็นโลกและผู้คนรอบตัวอย่างลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น 

นิตยสารดีจัง เล่มที่ 1 ฉบับปฐมยิ้ม

นิตยสารดีจัง ฉบับ ปฐมยิ้ม นิตยสารรายสะดวกฉบับแรกที่จะสร้างรอยยิ้มให้ผู้อ่านผ่านเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยฉบับแรกนี้จะพาไปรู้จักพื้นที่สร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เพชรบุรีดีจัง อุตรดิตถ์ติดยิ้ม ฯลฯ พร้อมทั้งเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมชุมชน และผู้ใหญ่ใจดีที่อยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ เติมความสุขและรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนในทุกพื้นที่ทั่วไทย 

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.