สื่อศิลป์ SE - ประทีป อ่อนสลุง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม
บริษัท ไทยเบิ้ง โคกสลุง จำกัด ต.โคกสลุง จ.ลพบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชน พี่มืด - ประทีป อ่อนสลุง ผู้ประสานงานหลักไทยเบิ้งโคกสลุง เล่าว่าการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นการทำงานที่ไม่มีวันเสร็จ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อมาสืบสานงานต่อเสมอและเน้นการทำงานที่สร้างสมดุลระหว่าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” เพราะถ้าคุยกันแต่เรื่องกำไรผลประโยชน์ ความยั่งยืนของชุมชนก็ไม่มีวันเกิด เราจำเป็นต้องสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นเด็กและเยาวชนให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เราต้องเอาแนวคิดร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นให้มีคุณค่า ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เราต้องถอดบทเรียนสร้างเป็นหลักสูตร เพื่ออบรมและสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_YlnYKqe/
สื่อศิลป์ SE - ชมพิศ ปิ่นเมือง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม อำเภอสหัสขันธ์
บริษัท สหัสขันธ์ จูราสสิก แอนด ทราเวล จำกัด หนี่งในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่นำความโดดเด่นของพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ มาพัฒนาให้เป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ คุณชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหัสขันธ์ สะท้อนแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยนำการท่องเที่ยวเป็นแกนกลางในการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดการต่อยอดไม่สิ้นสุดโดยนำความเชื่อและศรัทธาของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาร้อยเรียงเข้ากับคุณค่าของโบราณสถานอย่างวัดวาอาราม หรือ การค้นพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ใหญ่เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอันโดดเด่นต่อการต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาที่ อ.สหัสขันธ์ และได้มีการส่งต่อคุณค่าของชุมชนด้วยการอบรมมัคคุเทศก์ที่หลากหลายวัย ให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณค่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_JoG6-1L/
สื่อศิลป์ SE - สกาวกวิน กาญจนเสมา กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/
สื่อศิลป์ SE -เพ็ญจมาส ศิริกิจวัฒนา : กับ SE ย่านบ่านซ้าน ภูเก็ต
วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต แม้จะเป็นน้องใหม่ในการก้าวสู่การทำงานร่วมกับ สสส. และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ แต่การเริ่มต้นจาก “ทุนวัฒนธรรม” ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.ภูเก็ต นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนได้ไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตและความเชื่อของคนภูเก็ตที่มีความหลากหลาย ทั้งการกินของคนภูเก็ตที่กิน วันละ 7 มื้อ เทศกาลถือศีลกินผัก , การเดินที่มีเสน่ห์ด้วย “รถโพถ้อง” สองแถวนำเที่ยว สัมผัสย่านการค้าเก่าที่สำคัญ ของ จ.ภูเก็ต หรือ “อังมอเหลา” คฤหาสน์เก่าของนายเหมือง จ.ภูเก็ต ทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็นพลังให้วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต ถูกบอกต่อ และส่งพลังไปสู่วงกว้างได้ในอนาคตอันใกล้นี้ กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jPZudJKye-/
สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน : ม่อนปิ่น : สื่อศิลป์ SE
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน เป็นหนึ่งในผลงานของชาวม่อนปิ่น โดยสภาเด็กและเยาวชนตำบลม่อนปิ่น ที่จะแนะนำนักปราชญ์ชาวบ้านคนเก่งในตำบลม่อนปิ่น เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้านในกับเยาวชนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ
บ้านป่าคา ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติ บนความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวลาหู่ ที่อพยพมาจากอ่างขางและหลักสา(หัวน้ำห้วยงู) ที่ยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่น่าหลงไหลง และเป็นเอกลักษณ์ ที่พร้อมต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ในอนาคตบ้านป้าคาจะเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ และต้องการซึบซับกับความน่าหลงไหลของวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม
หมู่บ้านนอแล ต.ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านชาวไทย-ภูเขาเผ่าปะหล่อง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ทำให้เราสามารถมองเห็นประเทศพม่าที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 กิโลเมตรได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นเรายังสามารถสัมผัสกับธรรมได้อย่างเต็มที่ เพราะหมู่บ้านนอแลตั้งอยู่บนดอยอ่างขาง ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ นับได้ว่า หมู่บ้านนอแลจะเป็น สื่อศิลป์ SE ม่อนปิ่น ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยเอกลักษณ์ของชุมชนที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า และโอบล้อมไปด้วยธรรม
พ่อสมศักดิ์ ตะกร้าสานไม้ไผ่ : สื่อศิลป์SE
จากชาวบ้านสู่...นักปราชญ์ คุณพ่อสมศักดิ์ ชาวบ้านธรรมดาที่มีโอกาสได้เรียนการสานไม้ไผ่จาก อบต.ม่อนปิ่น แล้วนำมาต่อจนกลายเป็นนักปราชญ์ ด้านการสานไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้า แจกัน กระปุกออมสินและอื่นๆที่เกิดมาจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็น สื่อศิลป์SE ของม่อนปิ่นที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนม่อนปิ่นต่อไปในอนาคต
เฮือนกล๋อง ป๋อเฒ่าวิ ตำนานศาสตร์และศิลป์แห่งม่อนปิ่น : สื่อศิลป์SE
ป๋อเฒ่าวิ หนึ่งในบุคคลสำคัญด้านศาสตร์และศิลป์ของชาวไทยใหญ่ใน ต.ม่อนปิ่น ผู้ที่ทำหน้าประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ตามเทศกาล เช่นกลองไทใหญ่ ฆ้องฉาบ นกกิ่งกะหล่า และยังเป็นช่างฟ้อน ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่จะรำเลียนแบบสัตว์ที่แสดงความถึงการคารวะต่อพระพุทธะเจ้าที่มาโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ ผู้มากประสบการณ์ ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจแบบนี้ ทำให้เฮือนกล่อง ป๋อเฒ่าวิ จัดว่าเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในศิลปะและวัฒนธรรม
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 50 เดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Virtual Run เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” ระยะที่ 1 ซึ่งยังคงเป้าหมายเดิมที่อยากผลักดันให้คนในสังคมตื่นตัวหันมาทำกิจกรรมดูแลสุขภาพ ด้วยกิจกรรม Virtual Run โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถวิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องวิ่งจริงในงาน ซึ่งกติกาในการวิ่งนั้น ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ ต้องการให้คนในสังคมลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงตัวเองจากพฤติกรรมเดิม ๆ
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนบ้านผือ กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม คุ้มวัดศรีโสภณ เทศบาลตำบลบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ผลงานผลิตสื่อของเด็กเยาวชนโรงเรียนภูพระบาทวิทยา โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี