รายงานสุขภาพคนไทย 2564
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564 ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19
นิเวศวิทยาแนวลึก
บทความที่จะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้เข้าใจความหมายของระบบนิเวศวิทยาแนวลึกและเปลี่ยนวิถีความคิดเดิมๆ ของเราที่มีต่อธรรมชาติ เพราะธรรมชาติไม่ได้เกิดมาเพื่อรับใช้มนุษย์ แต่ทุกสรรพสิ่งมีคุณค่าในตัวเองและล้วนมีความเชื่อมโยงกัน มนุษย์เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศไม่ได้มีความสำคัญที่สุดในข่ายใย อีกทั้งมนุษย์เองที่นำมาซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อม แนววิถีคิดเดิมของเราที่มีต่อธรรมชาติไม่สามารถแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ ทางออกของวิกฤตนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีความคิดเดิมและทำความเข้าใจต่อระบบนิเวศวิทยา ว่าทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติล้วนเชื่อมโยงและต้องพึ่งพาอาศัยกัน
เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดคำนวณจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันว่าเราใช้ไปมากน้อยเท่าไร อีกทั้งอาจจะไม่ได้นึกไปไกลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าของเราในแต่ละวัน ในประเทศไทยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางรัฐก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเพิ่มขึ้นและยังไม่นับผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชุดนี้ มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ในเรื่องผลกระทบในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและวิธีการประหยัดพลังงาน ที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศของเราและช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทาง
วรรณา ระหมันยะ แม่ของไครียะห์ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ
เรื่องราวของคุณแม่วรรณา ระหมันยะห์และลูกสาววัย17 ไครียะห์ หรือ “เกรต้า ธันเบิร์กเมืองไทย” เด็กผู้หญิงที่มีความเอาจริงเอาจังต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนดั้งเดิมในจังหวัดสงขลา เพื่อให้คนในพื้นที่เดิมได้มีอาชีพทำกิน โดยมีคุณแม่วรรณาคอยเฝ้าดูแลใช้หลักเมตตาในการเลี้ยงดูและปลูกฝัง เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น รวมถึงได้ปลูกฝังในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีสำนึกรักในถิ่นกำเนิด
ขบวนการกินกู้โลก
ปัจจุบันนี้การกินของเรานั้นไม่ยั่งยืนสักเท่าไหร่ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เราอาจนึกไม่ถึงว่าก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยมาจากระบบอุตสาหกรรมอาหารมีสัดส่วนมากกว่าก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เรามองว่าเป็นตัวร้าย หรือการกินของยังทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์สูญพันธ์ุ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย การกอบกู้โลกจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย หากเราไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการกิน
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - กิตติเชษฐ์ สิริศรีพรชัย
เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘แสงที่ปลดปล่อยพันธนาการ’ โดย คุณกิตติเชษฐ์ สิริศรีพรชัย ที่ปรึกษาในการปรับสมดุลและแนะนำการไปสู่เป้าหมายของชีวิตด้วยการใช้ญาณทัศนะ กับมุมองการตื่นรู้ ที่ได้จากการสำรวจความทุกข์ของตัวเองและตระหนักว่า ‘ทุกอย่างอยู่ที่ใจ’ แท้จริงแล้วสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นเพียงสมมุติเพื่อใช้ในการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ เมื่อเราตื่นรู้เราจะมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงตนเองให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อยกระดับจิตวิญญาณและความสุขในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
ห่วงโซ่ (ไมโครพลาสติก) อาหาร
แม้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าไมโครพลาสติกส่งผลต่อมนุษย์ที่กินพวกมันเข้าไปโดยไม่รู้ตัวได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ เจ้าพลาสติกชิ้นจิ๋วเหล่านี้ได้ล่องลอยปนเปื้อนอยู่ในทะเล อยู่ในอาหารทะเล อยู่ในเกลือ อยู่ในน้ำประปา และอยู่ในร่างกายเราแล้ว และด้วยความที่มันเดินทางไกล แถมยังคุณสมบัติดูดซับสารเคมีอันตรายและโลหะหนักน่ากลัวเอาไว้ ใครจะสบายใจถ้ารู้ว่ากำลังกินพวกมันเข้าไปสัปดาห์ละตั้ง 5 กรัม! ลดต้นเหตุการสร้างไมโครพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทางเท่าที่ทำได้ ไปจนถึงคัดแยกจัดเก็บเข้าระบบให้เหมาะสม โอกาสที่มันจะไหลลงไปเท้งเต้งอยู่ในมหาสมุทรแล้วกลายร่างก็น้อยลงไปด้วย
เปิดโลกอาสา : FEED Thailand
"งานสิ่งแวดล้อมมันมีหลายมิติมากเลย แต่สิ่งแวดล้อมที่ผจับอยู่เนี่ย มันเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นศิลปะ ให้ข้อมูลที่เป็นการสื่อความหมาย เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ แล้วพอเราทำแล้ว คนที่เรียนกับเรา เรารู้สึกว่าเขาสัมผัสได้ เขามีความสุขในการเรียน เราก็มีความสุขในการสอน" ธีรยุทธ ลออพันธ์พล (FEED Thailand) FEED Thailand หรือ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นส่วนหนึ่งของ WWF ที่แยกออกมาให้ความใส่ใจกับกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่จะให้ผู้เรียนได้รู้จัก เข้าใจ และได้สัมผัสอย่างเข้าถึงธรรมชาติอย่างแท้จริง แม้ว่าจะพบกับความท้าทายหลายประการ แต่ทีมงาน FEED ทั้ง 20 ชีวิต ก็ยังคงยืนหยัดในความเชื่อและประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากตนเอง เดินหน้าต่อไปเพื่อสื่อสารสิ่งดีๆ จากธรรมชาติให้กับเยาวชน และจัดกิจกรรมให้น้องๆ ได้สัมผัสธรรมชาติได้จริง พร้อมเปิดรับอาสาที่ใส่ใจโลกมาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน โทรศัพท์: 02-942-7687, 02-942-7697 โทรสาร: 02-942-7687, 02-942-7697 ต่อ 18 email: admin@feedthailand.org website: www.feedthailand.org
หนูน้อยไปดอยสุเทพ
หนังสือเรื่อง หนูน้อยไปดอยสุเทพ เป็นหนังสือที่เหมาะกับเด็กวัย 3-4 ขวบ ที่ผู้ใหญ่ควรอ่านให้เด็กฟัง เด็กจะเรียนรู้ถึงคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีสำเนียงเสียงอันไพเราะกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสะท้อนภาพที่สวยงามของดอยสุเทพ ดอยอันมีชื่อเสียงของเชียงใหม่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาลำเนาไพร เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวมากมาย
ป่าดอยบ้านของเรา
หนังสือ ป่า ดอย บ้านเรา เป็นนิทานภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เล่าเรื่องระบบนิเวศน์ที่เข้าใจยากและซับซ้อนผ่านรูปวาดที่น่ารัก สื่อสารให้เห็นภาพเพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ของป่าและดอย ที่เปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ป่า และสรรพชีวิตน้อยใหญ่ที่พึ่งพิงกัน ก่อเกิดเป็นลำธาร ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ และมีอากาศบริสุทธิ์ โดยความสำคัญของป่า ดอย นี้ยังเป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ของมนุษย์เราด้วยเช่นกัน เมื่อใดที่โลกไร้ป่า ก็เสมือนคนเราไม่มีบ้านให้อาศัยนั่นเอง
นิทานใต้ทะเล
ประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ในการทำให้เกิด “ขยะทางทะเล” มากที่สุด ขยะที่พบส่วนเป็นเป็นพลาสติก ที่ทำร้ายสัตว์ใต้ทะเล ให้บาดเจ็บ เสียชีวิต และใกล้สูญพันธ์ นิทานเรื่องนี้ ชวนเด็กคุยเพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องรักษ์ทะเล และกระตุกเตือนผู้ใหญ่ที่ได้อ่านให้ย้อนกลับมาถามตนว่า เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้ผืนน้ำสีครามนี้
หลอด โดย คณะวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
หลอดคือขยะอันสองของขยะทั้งหมด ส่งผลกระทบกับสัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมโดยตรง