ฆาตกรแฝงในจาน
มารู้จักกับ 5 สารเคมีตัวร้ายที่แอบอย่างแนบเนียนอยู่ในอาหารที่พบเห็นได้บ่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่หากสะสมมากเข้าก็อาจจะร้ายแรงถึงชีวิต แต่ความจริงแล้วเราเองก็สามารถตรวจสอบก่อนกินได้ง่ายๆ เพียงแค่ดมกลิ่น ดูสี และสังเกตเนื้อสัมผัสที่ผิดปกติไป เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีสารพิษตัวร้ายแฝงเข้ามาทำอันตรายอยู่ในจาน ถ้าจะกินให้อร่อยแล้ว เราก็ต้องกินให้ดีด้วย!
รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก
นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้
พินิจพิษผัก โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลไม้ สวย สด ซ่อนพิษสุดสยอง อยากรู้ดูคลิปนี้ การสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปัญหาสารเคมีตกค้าง เพื่อกระตุกเตือนสังคมให้เห็นความน่ากลัวของการใช้สารเคมีการเกษตร และชี้ชวนให้หันมาบริโภคผักอินทรีย์ทดแทน
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน