The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.3
หนังสือดีสำหรับเด็กส่วนมากมักจะมีราคาแพง แต่เราสามารถสร้างหนังสือดีสำหรับเด็กที่มีเพียงแค่เล่มเดียวในโลกได้ง่ายๆ ด้วยฝีมือของเราเอง The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ Ep.3 ในคลิปวิดีโอที่สาม นี้ ป้ากุลจะมาสาธิตวิธีทำหนังสือนิทานขั้นบันไดสำหรับเด็กด้วยวัสดุเหลือใช้ใกล้ตัว ที่มีวิธีการทำที่ทั้งง่ายและสร้างสรรค์ แถมป้ากุลยังได้เล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจของป้ากุลในผลงานนิทานเรื่อง เพื่อนหายไปไหน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากหนังสือนิทานทำมือจนกระทั่งได้กลายเป็นนิทานฉบับตีพิมพ์
ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้
“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว
คู่มือบอร์ดเกม 3ดี ชุมชนสร้างสุข
“เวลา” คือสิ่งมีค่าที่สุดที่พ่อแม่ทุกคนจะให้กับลูกได้ แต่จำนวนปริมาณเวลายังไม่สำคัญเท่ากับ “คุณภาพ” ของเวลาที่เราใช้กับเด็กๆ เราสามารถสร้างเวลาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับครอบครัวได้ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันร่วมกัน คู่มือ บอร์ดเกม ชุด “3 ดี” ออกแบบมาให้เหมาะสำหรับเด็กวัยประถมปลาย (8-12 ปี) การเล่นบอร์ดเกมจะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดภาวะ “สมองตื่นตัว หัวใจตื่นรู้” และยังเกิดความสุขจากการได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในครอบครัว
บอร์ดเกม 3ดี ชุมชนสร้างสุข
บอร์ดเกม 3ดี ชุมชนสร้างสุข ภายใต้แนวคิด 3ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อมุ่งหวังให้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์เวลาคุณภาพให้เกิดขึ้นในทุกครอบครัว “บอร์ดเกม” จะเป็นสื่อดี สื่อสร้างสรรค์ ที่จะช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของครอบครัว อีกทั้งช่วยเปิดโอกาสให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ของการร่วมกันคิด พูดคุย รับฟัง แสดงทัศนะความคิดเห็น ในแง่มุมของตนเองอย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้งเกิดเป็นความผ่อนคลาย ความเข้าใจ รอยยิ้มและความสุข
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน : ม่อนปิ่น : สื่อศิลป์ SE
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน เป็นหนึ่งในผลงานของชาวม่อนปิ่น โดยสภาเด็กและเยาวชนตำบลม่อนปิ่น ที่จะแนะนำนักปราชญ์ชาวบ้านคนเก่งในตำบลม่อนปิ่น เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้านในกับเยาวชนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ
บ้านป่าคา ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติ บนความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวลาหู่ ที่อพยพมาจากอ่างขางและหลักสา(หัวน้ำห้วยงู) ที่ยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่น่าหลงไหลง และเป็นเอกลักษณ์ ที่พร้อมต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ในอนาคตบ้านป้าคาจะเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ และต้องการซึบซับกับความน่าหลงไหลของวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม
หมู่บ้านนอแล ต.ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านชาวไทย-ภูเขาเผ่าปะหล่อง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ทำให้เราสามารถมองเห็นประเทศพม่าที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 กิโลเมตรได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นเรายังสามารถสัมผัสกับธรรมได้อย่างเต็มที่ เพราะหมู่บ้านนอแลตั้งอยู่บนดอยอ่างขาง ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ นับได้ว่า หมู่บ้านนอแลจะเป็น สื่อศิลป์ SE ม่อนปิ่น ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยเอกลักษณ์ของชุมชนที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า และโอบล้อมไปด้วยธรรม
พ่อสมศักดิ์ ตะกร้าสานไม้ไผ่ : สื่อศิลป์SE
จากชาวบ้านสู่...นักปราชญ์ คุณพ่อสมศักดิ์ ชาวบ้านธรรมดาที่มีโอกาสได้เรียนการสานไม้ไผ่จาก อบต.ม่อนปิ่น แล้วนำมาต่อจนกลายเป็นนักปราชญ์ ด้านการสานไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้า แจกัน กระปุกออมสินและอื่นๆที่เกิดมาจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็น สื่อศิลป์SE ของม่อนปิ่นที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนม่อนปิ่นต่อไปในอนาคต
ปิดเทอม สร้างสรรค์ รัก ผูกพัน ศรัทธา
กิจจกรรมค่ายครอบครัวสุขสันต์ สร้างสุขในชุมชน ภายใต้ การดำเนินงานของกลุ่มละครมาหยา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ดำเนินการจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ รัก ผูกพันธ์ ศรัทธา เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2563 ณ หาดทุ่งทะเล อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ผลการดำเนินกิจกรรม -เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในช่วงปิดเทอมของกลุ่มคนสองวัย เด็กและผู้สูงอายุ -เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างปราชญ์ท้องถิ่นกับเยาวชน -เกิดผลงานสื่อสร้างสรรค์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชน -เกิดช่องทางในการสื่อสารที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ -เกิดการแลกเปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ในต่างชุมชนที่เป็นต้นแบบด้านวิสาหกิจชุมชน