Words Can Kill ฟังเสียงเด็ก - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงเด็ก ๆ กับความรู้สึกเมื่อได้ยินคำพูดทำร้ายจิตใจจากพ่อแม่ ลองเปิดใจ ฟังเสียงเด็ก และเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมไม่ทำร้ายกัน ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน **
Words can kill ฟังเสียงผู้ใหญ่ - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงผู้ใหญ่ ที่มา เหตุผล และความรู้สึกของการใช้คำพูดของตนเองและความรู้สึกจากคำพูดของเด็กเมื่อย้อนกลับมา ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 2
สปอตรณรงค์ สะท้อนประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา สปอตชุดนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 2 นี้เป็นการสรุปภาพรวมตัวเลขให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดตัวเลขความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 1
สปอตรณรงค์ ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกิน ณ ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานสปอตนี้จุดประเด็นกระตุ้นเตือนให้เราได้หันมามองคนในชุมชน คนในพื้นที่ ผู้ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินทำกินและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุมชนตนเองได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง
ป่าชายเมือง Spot viral video ตอน Forest s Lost
ผลงานสารคดีจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม มีทั้งหมด 4 ตอน สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นสปอตรณรงค์ความยาวประมาณ 1.39 นาที กระตุ้นเตือนให้คนเห็นความสำคัญของป่าชายเลนกับชีวิต และวันนี้ผืนป่ากำลังจะหายไป
สปอตโปรโมท ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่
สปอตโปรโมทขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ชวนไปดูเด็ก ๆ จาก 7 พื้นที่ที่ลุกขึ้นมาสืบค้นอาหารท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำมาเรียนรู้วัฒนธรรม เข้าใจความต่าง ๆ สื่อสารความมั่นคงของอาหารที่สอดคล้องไปกับทั้งเรื่องเท่าทันสื่อและสิทธิมนุษยชน ดังนั้น สำหรับเด็ก ๆ แล้ว เรื่องกินไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
แรงงานเด็ก
สปอตรณรงค์สะท้อนภาพความด้อยโอกาสของเด็กที่ถูกใช้แรงงาน แม้เด็กกลุ่มนี้จะอยากหนีออกจากสภาพที่เป็นอยู่ แต่พวกเขาไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง จำเป็นที่คนในสังคมทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกัน ดึงเด็กกลุ่มนี้ออกมา ให้มีโอกาสได้เล่น ได้เรียนรู้ตามสิทธิที่เด็กคนหนึ่งพึงมีพึงได้
สื่อรณรงค์แด่น้องผู้หิวโหย
สปอตรณรงค์์ 'แด่น้องผู้หิวโหย' สะท้อนภาพอันโหดร้ายในสังคมชนบทที่แห้งแล้ง ยากไร้ และโหดร้าย ชีวิตของเด็ก ๆ ที่นั่นขาดแคลนอาหาร จนกระทั่งถึงขนาดต้องกินดินเพื่อประทังชีวิต โดยโครงการเชิญชวนคนในสังคมให้มาช่วยกันบริจาควันละ 1 บาทเพื่อแบ่งปันอาหารให้กับน้อง ๆ ผู้หิวโหย
มีจริงแต่ไม่มีตัวตน
สปอตรณรงค์ให้สังคมช่วยกันเพิ่มพื้นที่เล่น พื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ด้อยโอกาส ให้ได้มีพื้นที่ ได้เข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ รวมถึงโอกาสที่จะได้มีพัฒนาการตามวัยที่เท่าเทียมเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ ในสังคม
30 ปี มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
สปอตครบรอบ 30 ปีมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สะท้อนภาพบทบาทของมูลนิธิในการทำงานด้านพัฒนาเด็ก โดยเน้นการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เนื้อหาของสปอตกระตุ้นให้สังคม ออกมาช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันให้โอกาสและสร้างชีวิตเด็กให้ผาสุก เพื่อเป็นทางแก้ไขปัญหาสังคมในระยะยาวต่อไป