Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สถานการณ์" พบ 11 ข้อมูล

การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563

COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น

รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน

ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19

โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19

ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ

4 เรื่องที่ควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อรักษากาย-ใจ ในสถานการณ์โควิด-19

ช่วงวิกฤติโควิด 19 คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองทั้งกายและใจ  เมื่อต้องอยู่บ้าน หรืออยู่รวม ด้วย 4 เรื่องที่ควรทำและไม่ควรทำ  เอาเรื่องที่ควรทำเป็นหลักก่อน เราต้องดูแลสุขอนามัยให้ปลอดเชื้อ , ดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย , พูดจาอ่อนโยนให้กำลังใจกันและกัน และเมื่อมีโอกาสก็แบ่งปัน และช่วยเหลือกันและกัน

รายงานสมรภูมิโรคเอดส์

สถานการณ์โรคเอดส์ในไทย มีผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นอันดับ 41 ของโลก โดยในปี ค.ศ. 2012 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์กว่า 20,000 คน  และเป็นเรื่องน่าตกใจที่พบว่า เยาวชนไทยเป็นกลุ่มที่เสี่ยงกับโรคเอดส์เพิ่มมากขึ้น และมีเพียง 1 ใน 3 ของเยาวชนที่มีความรู้เพียงพอในการป้องกันโรคนี้

คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 (Eng Version)

หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ภาคภาษาอังกฤษ จัดทำโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แปลจากหนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ฉบับภาษาไทย เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ในวงการวิชาการในระดับสากล ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในทุกด้านอย่างสมบูรณ์

คุณภาพชีวิตเด็ก 2556

หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556  เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก โดยได้ทำการรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ครอบครัวและผู้ทำงานด้านเด็กได้มองเห็นประเด็น เกิดองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยอย่างสมบูรณ์

สถานการณ์การอ่าน Thailand 4.0

ในขณะที่ประเทศไทย กำลังรุดหน้าสู่การพัฒนาประเทศในยุค 4.0 สร้างศักยภาพความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ในอีกด้านหนึ่ง พลเมืองของประเทศกลับยังคงมีปัญหาด้านการศึกษา ศักยภาพการศึกษาของเด็กไทยยังคงล้าหลังอยู่ในเวทีโลก เมื่อมองถึงพฤติกรรมการอ่าน พบว่าเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 6 ปี) ของไทยยังคงเข้าไม่ถึงการอ่าน ดังนั้น หากจะมุ่งสร้างไทยสู่ความเข้มแข็งรุดหน้าในยุค 4.0 เราต้องมาช่วยกันพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน อันจะเป็นรากฐานนำสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

ปลดล็อกสมองเด็กไทยด้วยขั้นบันไดการอ่าน

เจาะลึกถึงสมรรถภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก เปิดประเด็นปัญหาการศึกษาและวิชาการของเด็กไทยเป็นตัวฉุดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ แม้เราจะรู้ว่าการอ่านเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กไทยในด้านวิชาการ แต่จากสถิติกลับพบว่าเด็กไทยจำนวนมากยังอ่านหนังสือไม่ออก ใช้เวลาไปกับสื่ออื่น ๆ มากจนส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาการศึกษาและสุขภาวะด้านต่าง ๆ มากมาย ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องมาช่วยกันส่งเสริมเด็กไทยให้รัก 'การอ่าน' ปลดล็อกสมองเด็กไทยให้ฉลาดพร้อม ๆ กับมีสุขภาวะทางด้านอื่นที่ดีขึ้นด้วยไปพร้อมกัน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.