อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง
คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน” หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง
ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน
‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์
'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561
Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์
ไป (แบบ) ที่ชอบที่ชอบ ศึกษาข้อกฎหมายที่จะช่วยออกแบบฉากสุดท้ายของชีวิตได้ตามต้องการ
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lession บทความตอนแรกของซีรีส์ ‘Departure Guide’ ชวนคุณไปรู้จักกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตายดี ทั้งการเขียน Living Will และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องการกำหนดช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตได้อย่างที่ต้องการ
ก่อการครู : ก้าวแรกของก่อการครู
โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1
ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้
วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม
ชุดหนังสือคู่มือลดความเหลื่อมล้ำด้วยตนเอง โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล
VIP เด็กเส้น โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
เสนอการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ไม่ให้เกิดการใช้เส้นสาย เงิน ยศ เข้ามาช่วยในเรื่องการศึกษา ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และส่งผลให้เด็กไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น