พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย
หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย
หนังสือ “การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย” เล่มนี้เป็นการสืบค้น ประมวลหลักฐาน วิเคราะห์ บันทึกต่าง ๆ ที่เก่าแก่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ ที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย อีกทั้งการดูแลสุขภาพในทัศนะของพุทธศาสนาและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาการนวดไทยต่อไป
การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา
หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น
รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 10
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 10 "ทุกคนมีสิ่งที่พิเศษบางอย่างที่เรียกว่า ศาสนาของข้าพเจ้า อะไรคือศานาของเขา ศาสนาที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของเขา และสร้างเขาอย่างต่อเนื่อง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 – 1941