trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "วิธี" พบ 34 ข้อมูล

5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา  ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน  ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it  

10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์

การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม

9 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์

9 วิธีการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ ได้แก่ สร้างวินัยและความรับผิดชอบ, รู้จักแบ่งเวลา, ควบคุมการใช้จ่าย, ฟังและพูดดีต่อกัน, ชื่นชมให้กำลังใจ, มีกฎกติกาอยู่ร่วมกัน, สร้างรอยยิ้ม, มีความเข้าใจลูก และการมีเวลาดี ๆ ร่วมกันในครอบครัว

แชร์วิธียี้เหล้า ทีมแค่สาม

คลิปวิดีโอจากโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' เปิดเรื่องราวสถานการณ์บางครั้งเราต้องอยู่ในสังคมที่ชอบชักชวนให้เราดื่มเหล้า จะมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เราไม่ต้องดื่มเหล้า โดยคลิปนี้เสนอวิธีกวน ๆ 4 วิธี ทั้งแกล้งเมา แกล้งป่วย ติดเล่นเกม หรือดื่มน้ำเปล่า พร้อมโยนคำถามสุดท้ายให้คนรุ่นใหม่ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันแชร์วิธีเดินหนีเหล้าที่แปลกแหวกแนวแต่ได้ผลไม่เหมือนใคร

แผ่นพับ10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์

เมื่ออยู่ในโลกดิจิทัล คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อและช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเท่าทันสื่อและใช้สื่อได้อย่างฉลาดรู้เท่าทัน และนี่คือ 10 วิธีที่จะเป็นหลักง่าย ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปใช้ดูแลเด็ก ๆ ให้ใช้สื่อดิจิทัลอย่างถูกต้อง เหมาะสม และสร้างสรรค์ โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่าง

โปสเตอร์ 10 วิธีสอนลูกให้ทันสื่อ

ในสังคมยุคที่สื่อมีความง่ายต่อการเข้าถึงและเป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันของคนทุกคน  “10 วิธีสอนลูกให้เท่าทันสื่อ” 10 จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อแม่ควรอ่าน เพื่อทราบข้อแนะนำในการดูแลลูกให้เท่าทันสื่อ เพราะเด็กอาจยังมีทักษะไม่เพียงพอในการตีความในเนื้อหาของสื่อ ผู้ปกครองควรมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสอนเด็กให้รู้เท่าทันสื่อ และมีส่วนร่วมในการดูสื่อไปด้วยกัน เพื่อสอนการรับชมสื่อที่เหมาะสม  การนำสื่อมาใช้ประโยชน์ได้ และที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสอนเรื่องวินัยด้านเวลาของการรับชมสื่อและเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

โปสเตอร์ 10 วิธีรู้ให้ทันสื่อ

อยากเป็นคนรู้ทันสื่อไม่ใช่เรื่องยาก แค่เรียนรู้ 10 วิธีรู้ให้ทันสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักสงสัย ตั้งคำถาม รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังว่าสื่อนั้นมาจากไหน รวมถึงการรู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ให้รอบด้าน ฯลฯ จำไว้ให้ขึ้นใจ 10 วิธีนี้ รับรองรู้ทันสื่อได้แน่นอน

อ่านสร้างสุข 19 Best Practice ยุทธวิธีใหม่ นวัตกรรมโดนใจของห้องสมุดนานาประเทศ

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการอ่าน ได้สืบค้นและรวบรวมแนวคิดและผลงานที่โดดเด่นของนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านนานาประเทศ อาทิ โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ในประเทศสิงค์โปร์, หอสมุดแห่งชาติสำหรับเด็กและเยาวชน ที่ประเทศเกาหลี, ห้องสมุดเอทีเอ็มที่ประเทศจีน ซึ่งให้บริการยืมและคืนหนังสือได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการอ่านหนังสือ เพื่อเลื่อนตำแหน่งตำรวจในประเทศเม็กซิโก โดยต้นแบบนวัตกรรมเหล่านี้ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักอ่านไทยขับเคลื่อนเมืองไทยให้เป็นนครแห่งการอ่านต่อไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.