trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส

”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร  เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน  เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่  สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย  การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม

เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง

“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน  

เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์

“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป  แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”    

ตายแล้วโปรไฟล์เฟซบุ๊กไปไหน จัดการมรดกดิจิตอลของเราก่อนวันที่บัญชีต่างๆ จะออฟไลน์ไปตลอดกาล

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson   จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมลของเราเมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป รูปที่โพสต์จะยังอยู่ไหม เพื่อนของเราจะกลับเข้ามาอ่านข้อความเก่าที่เคยคุยกับเราได้หรือเปล่า

Dostadning กระบวนการทิ้งสัมภาระและจัดบ้านให้เรียบร้อยก่อนความตายมาถึงตามแบบฉบับชาวสวีดิช

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีดิช ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning(2018) เพื่อตอบคำถามดังกล่าวสำหรับคนที่รู้ตัวว่ากำลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และทำให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่  

การดูแลอย่างมีความหมายและคำบอกลาสุดท้าย เมื่อคนที่เรารักเดินมาถึงปลายทางของชีวิต

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมื่อพวกเขาเดินทางมาใกล้ถึงปลายทางแห่งชีวิต และไม่มีสิ่งใดมาหยุดสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่สุดอย่างความตายได้ เราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะมาส่งเขาได้อย่างนุ่มนวลและทำให้การบอกลาครั้งนี้มีค่าที่สุด  

เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที  

ทบทวนเรื่องราวชีวิตกับ 10 คำถามสำคัญที่ควรตอบตัวเองให้ได้ก่อนจากโลกใบนี้ไป

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    วันเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เราแทบไม่เคยหยุดคิดและตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องชีวิตและความตายอย่างจริงจังมาก่อนเลยสักครั้ง จนกระทั่งช่วงเวลาสุดท้ายก่อนความตายเดินทางมาถึงอย่างไม่ทันได้เตรียมใจ ทำให้เกิดความหวาดกลัว วิตกกังวล เคร่งเครียดไปกับปัญหามากมายที่ไม่ทันสะสาง ขอให้คุณลองตอบคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ดูอย่างถี่ถ้วนและตรงไปตรงมา เพื่อเป็นการทบทวนถึงช่วงวันที่ผันผ่าน ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และการจัดการทรัพย์สมบัติที่เตรียมการได้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้คุณ ‘หมดห่วง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายและจากไปอย่างสวยงาม  

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร - การจัดกระเป๋าเดินทางครั้งสุดท้าย ที่ลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้

คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร  Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ  

นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ - กระบวนการตายตามธรรมชาตินั้นสั้นและเจ็บปวดน้อยกว่า

บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ  เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง  เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา  

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ

คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.