trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์

'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561

Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

วิทยาศาสตร์ อำนาจ และครู : วิลาวัลย์ สินธุประภา

วิลาวัลย์ สินธุประภา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ครูในโครงการครูกล้าสอนกับความกลัวและมุมมองในการสอนก่อนเข้าร่วมอบรมในโครงการและสิ่งที่ได้รับภายหลังเข้าร่วมในโครงการ ทั้งเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพและทบทวนบทบาทของตัวเอง แรงบันดาลใจในการสร้างคุณค่าให้กับครูผู้สอนในการพัฒนาคน มุมมองการสอนที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถนำมากระตุ้นให้นักเรียนเปิดรับกับวิชาที่เรียนและสนุกไปกับการเรียนในชั้นเรียนได้

บทความจากนิตยสารสุขแนะนำโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” เป็นหลักสูตรสำหรับครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ครูได้ทบทวนชีวิตความเป็นครู ด้วยการยอมรับตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่อาจจะไม่สมบูรณ์แบบพร้อม แต่พร้อมเปิดใจรับฟังและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนผู้เรียน เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและเข้าใจและเอื้อต่อการเกิดพลังสร้างสรรค์ โดยครูที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะต้องผ่าน 3 ชุดการเรียนรู้ คือ 1. “ครูผู้ตื่นรู้ในตนเอง” เพื่อให้ครูฟื้นฟูพลัง และเข้าใจตนเอง  2. “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” ฝึกทักษะตั้งคำถามเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวนักเรียน และ 3. “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ฝึกทักษะการออกแบบการเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง

โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้

ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน

อาจารย์น้อย ดร.สุขมิตร กอมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครูในโครงการครูกล้าสอนรุ่นที่ 1 ได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้จากหลักสูตรในโครงการครูกล้าสอนและกระบวนการลดความขัดแย้งมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กรและสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงได้นำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน  

ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง

ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป

แนะนำโครงการครูกล้าสอน

บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน”  ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค

การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้  เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”

วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น

คุณอรทัย ชะฟู  จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน  ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ

วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict

เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน  ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.