Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

ติดน้ำอัดลม ระวัง หวานจนติดลม

อย่าเผลอตัวเผลอใจให้น้ำอัดลม แม้จะบอกว่าไม่มีน้ำตาลก็เถอะ แต่ก็ทำให้เราติดหวาน และเสี่ยงต่อโรคอยู่ดี เพราะจากสถิติ คนไทยจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำอัดลม 38,800 ล้านบาทต่อปี แต่ ประเทศไทยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคร้ายจากน้ำอัดลม 330,000 ล้านบาทต่อปี! และแม้ว่าน้ำอัดลมชนิดนั้นจะบอกว่ามีน้ำตาล 0% แต่ก็ใส่สารให้ความหวาน ยิ่งกลายเป็นการหลอกลิ้นของเราให้ติดรสหวานมากยิ่งขึ้น ความอยากน้ำตาลทำให้เราหิวง่าย และกินมากกว่าปกติ 30% ทำให้อ้วน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคติดต่อไม่เรื้อรังอื่นๆ ตามมา ทางที่ดี งดกินน้ำอัดลมดีกว่า รับรองไม่ติดหวานแน่นอน!

Good Morning สวัส ดี มื้อเช้า

มาเรียนรู้คอมบิเนชั่นมื้อเช้าที่ดี ด้วยการเลือกกินอย่างหลากหลาย ครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผัก ผลไม้ ไขมัน และเกลือแร่ เน้นธัญพืชและผักผลไม้หลายสีให้เป็นประจำ ที่สำคัญคือไม่ควรกินอาหารแปรรูปหรืออาหารปรุงแต่งมากเกินไปด้วยนะ แล้วเราจะได้มีมื้อเช้าที่ดี เริ่มต้นเวลาเช้าที่ดี ที่ส่งผลให้ทั้งวันดีไปด้วยกัน

ห่วงโซ่ (ไมโครพลาสติก) อาหาร

แม้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าไมโครพลาสติกส่งผลต่อมนุษย์ที่กินพวกมันเข้าไปโดยไม่รู้ตัวได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ เจ้าพลาสติกชิ้นจิ๋วเหล่านี้ได้ล่องลอยปนเปื้อนอยู่ในทะเล อยู่ในอาหารทะเล อยู่ในเกลือ อยู่ในน้ำประปา และอยู่ในร่างกายเราแล้ว  และด้วยความที่มันเดินทางไกล แถมยังคุณสมบัติดูดซับสารเคมีอันตรายและโลหะหนักน่ากลัวเอาไว้ ใครจะสบายใจถ้ารู้ว่ากำลังกินพวกมันเข้าไปสัปดาห์ละตั้ง 5 กรัม! ลดต้นเหตุการสร้างไมโครพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทางเท่าที่ทำได้ ไปจนถึงคัดแยกจัดเก็บเข้าระบบให้เหมาะสม โอกาสที่มันจะไหลลงไปเท้งเต้งอยู่ในมหาสมุทรแล้วกลายร่างก็น้อยลงไปด้วย

แปรรูปหนักมาก

ในหมวดหมู่ของอาหารแปรรูปนั้นยังถูกแบ่งออกเป็นหลายเลเวล และที่อันตราย ต้องระวังกันสุดๆ คือกลุ่มอาหารแปรรูปหนัก หรือ Ultra-processed Food ที่ผ่านการแปรรูปอย่างหนักหน่วงในระบบอุตสาหกรรม ที่ผ่านการเติมแต่งตัดต่อมากมาย นอกจากอิ่มท้องและอร่อยลิ้น ยังได้ของแถมเป็นโซเดียมเพียบ ไขมันฉุ น้ำตาลสูง และทำให้เราอยากกินดับเบิลเข้าไปอีกต่างหาก! มาทำความรู้จักและระวังการกิน ก่อนจะเสียใจหนักมาก! กัน

หวัด (ไม่) ดีจ้า

ไม่อยากติดหวัดงอมแงม จามฟึดฟัด คัดจมูก ประสิทธิภาพต่ำ ขอแนะนำให้ป้องกันหวัดที่ไม่น่าทักทายนี้ ด้วยพฤติกรรมการกินและการอยู่ที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ ทั้งการเลือกกินผักผลไม้ หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านหวัด และทางที่ดี ให้เลือกผักอินทรีย์ที่มั่นใจอีกทีว่าปลอดจากเคมีด้วยล่ะ

รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก

นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้

อ่านฉลาก อย่างฉลาด

หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด

ความดันทุเรียนสูง

ผลไม้ที่จัดอยู่ในหมวด ‘รักแรง เกลียดแรง’ คือใครเกลียดก็ไม่กินไปเลย แต่ใครที่รักก็รักมากๆ เฝ้ารอฤดูกาลที่ทุเรียนหอมฉุยจะมาถึง แล้วกินกันให้สมกับที่คิดถึง จนบางทีก็มากเกิน และส่งผลต่อพุงล้ำๆ และน้ำตาลในเส้นเลือด! รักการกินทุเรียนเราไม่ว่า แต่เราขอเตือนว่าการกินทุเรียนมีข้อควรระวัง เพื่อให้เราอยู่กินทุเรียนในฤดูกาลถัดไปได้อีกนานๆ

รวมของกินดี เอาที่สบายใจ

ถ้าเกิดหิวขึ้นมาในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องแวะร้านสะดวกซื้อ ก็ใช่ว่าเราจะไร้ทางเลือกในการ ‘กินดี’ ลองตั้งใจสอดส่องให้ดีว่าอาหารอะไรบ้างที่มีคุณสมบัติดังนี้ ไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปน้อยที่สุด เลือกวิธีการปรุงแบบนึ่ง ต้ม หรืออบ หลีกเลี่ยงของทอด อ่านฉลากเบื้องต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่น้ำตาลสูง โซเดียมสูง หรือไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ถ้าเลือกและเลี่ยงได้ตามนี้ สบายใจได้ระดับนึงว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ถามหาแน่นอน

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด  แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง

keyboard_arrow_up