Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

คลายโศก

ความสูญเสียจากคนที่เรารักย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้า การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ทุกชีวิตสามารถฟื้นฟู เยียวยา และดูแลตนเองได้ ขอเพียงเรามีกันและกัน  และระลึกไว้เสมอมว่าความตายเป็นความจริงของชีวิต เราทำดีที่สุดแล้วในการส่งคนที่เรารักเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่อย่างมีความสุข  และเราเองก็ต้องก้าวต่อไปเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อดูแลครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างเรา

แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย

บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข

เก็บสุข กลางทุกข์

คนที่ต้องเผชิญความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งผู้ป่วยเอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กระทั่งบุคลากรสุขภาพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้าย ย่อมหลีกหนีความรู้สึกโศกเศร้าและเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกความรู้สึกนั้นให้เป็นพลังใจที่แข็งแกร่งขึ้นมา  ใช่ !!! นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราจะค้นหาความสุข ท่ามกลางความทุกข์ได้ด้วยวิธีไหน ? อย่างไร ?  หนังสือเก็บสุข กลางทุกข์ จะพาไปพบคำตอบจากบันทึก 23 เรื่อง จาก 14 ผู้เขียนที่จะแบ่งปันแนวคิดและทัศนคติเชิงบวก แนะวิธีการปฏิบัติตนอย่างมีสติ เตรียมตัวและเตรียมใจในการรับมือ รวมทั้งบอกเล่าการเติมเต็มหัวใจที่โศกเศร้าให้อบอุ่นจากกำลังใจคนรอบข้าง เพื่อส่งแรงหนุนให้เราก้าวข้ามเรื่องราวต่าง ๆ ไปอย่างเข้มแข็ง

Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ”  ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย  

สมุนไพรในพระไตรปิฎก

ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป 

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย

หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย

หนังสือ “การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย” เล่มนี้เป็นการสืบค้น ประมวลหลักฐาน วิเคราะห์ บันทึกต่าง ๆ ที่เก่าแก่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ ที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย อีกทั้งการดูแลสุขภาพในทัศนะของพุทธศาสนาและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาการนวดไทยต่อไป

การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา

หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น

One Moment เปลี่ยนชีวิต

บนโลกใบเดิมใบนี้ มีหลายครั้งหลายคราที่คนเรามักตั้งคำถามกับตนเอง ว่าทำไมโลกในวันนี้จึงดูวุ่นวาย สับสน และอยู่ยากมากขึ้นทุกวัน ปัญหารอบกายที่เกิดขึ้น...เกิดจากใคร ? เกิดจากใจเราที่คิดปรุงแต่งขึ้น หรือเกิดขึ้นเพราะความสัมพันธ์และระบบที่คนในสังคมคาดหวังไว้ แต่มิได้เป็นไปตามหวังจึงก่อเกิดเป็นปัญหาให้ต่างคนต่างเรียกร้องกันไม่จบสิ้น  แท้จริงแล้วเราจะสามารถอยู่บนโลกใบเดิมนี้ได้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร ? พบการเดินทางภายในกับ 40 ชีวิต  40 จุดเปลี่ยนสู่การตื่นรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต เพื่อมองโลกใบเดิมในมุมมองใหม่ที่เป็นหนึ่งเดียวกับความจริงตามธรรมชาติ ลุกออกมาจากกรอบความคิดเดิมที่กักขังจิตใจสู่ความเป็นอิสระทางจิตและความคิดของการตื่นรู้ด้วยตนเองที่ใครก็ทำแทนเราไม่ได้...นอกจากตัวเราเอง

รายงานสรุปการถอดบทเรียนเวที International Conference on Fake News

E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก 

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

ฆาตกรแฝงในจาน

มารู้จักกับ 5 สารเคมีตัวร้ายที่แอบอย่างแนบเนียนอยู่ในอาหารที่พบเห็นได้บ่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่หากสะสมมากเข้าก็อาจจะร้ายแรงถึงชีวิต แต่ความจริงแล้วเราเองก็สามารถตรวจสอบก่อนกินได้ง่ายๆ เพียงแค่ดมกลิ่น ดูสี และสังเกตเนื้อสัมผัสที่ผิดปกติไป เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีสารพิษตัวร้ายแฝงเข้ามาทำอันตรายอยู่ในจาน ถ้าจะกินให้อร่อยแล้ว เราก็ต้องกินให้ดีด้วย!

keyboard_arrow_up