Hearing Test
วาระวันแม่ปี 2563 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แม่ เพจสายสะดือ และ สสส. ส่งหนังโฆษณาตัวใหม่ 'Hearing Test' สร้างสรรค์โดยครีเอทีฟไดเร็คเตอร์มือรางวัลอย่าง กิตติ ไชยพร จากทีมมานะ และผู้กำกับที่เชี่ยวชาญหนังเชิงทดลอง Social Experiment อย่าง กมลวัฒน์ ชูเตชะ จากบริษัท มีอะไร จำกัด มาท้าทายคนดูด้วยภารกิจชวน 6 คู่แม่ลูกที่มีปัญหาความสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย มาเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ที่เปรียบได้ดัง 'สายสะดือที่หายไป' ด้วยการฟังเสียงลึกๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจของอีกฝ่าย เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่ปรักหักพัง ได้หวนคืนกลับมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอีกครั้ง
ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 3 เส้นทางสู่องค์กรแห่งความสุข
วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา มณีวัฒนา คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ เกตุฉาย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา , คุณชุลีพร รัมยะรังสิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน ตื่นรู้ 101 วันที่ 10 มกราคม 2562 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง จะถูกสร้างเป็นพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 1. ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน
ห้องการเรียนรู้ที่ 1. "ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน" วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมวิทยากร กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง จะถูกสร้างเป็นพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
การเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา
การเปิดใจ ฟังเสียงสะท้อนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม Leadership Inside Out – การเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ที่สามารถทำให้บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เกิดการพัฒนาภายในของตนเอง เพราะที่ผ่านมาพวกเขาอาจจะวิ่งหาแต่การพัฒนาจากภายนอก โดยไม่ได้มองย้อนกลับมาที่ภายในของตัวเอง การเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้เกิดการค้นพบตัวตนใหม่ ที่สร้างความสุขให้ตัวเองแล้ว ยังส่งต่อไปยังผู้คนที่อยู่รอบข้าวได้รับความสุขนี้อีก ด้วยจิตใจที่อ่อนโยน และเป็นมิตรมากขึ้น ปล่อยวางอีโก้หรือตัวตนที่แบกมาหนักเกือบทั้งชีวิต
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP4 ลงตัวกับความกลัว
ความกลัว เป็นอารมณ์แรก ๆ ของมนุษย์เรา ความกลัวมีรากฐานมาจากความไม่มั่นคงภายในใจ การจัดการกับความกลัว คือการทำอย่างไรที่เราจะมีความรู้สึกมั่นคงภายใต้ความกลัวที่ยังอยู่ โดยให้ความกลัวเป็นสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก แต่ภายในใจของเราแข็งแกร่งมากขึ้น ...เราไม่ต้องพยายามที่จะขจัดความกลัวนั้นออกไป ในทางตรงกันข้ามให้เรายอมรับความกลัวที่มีอยู่ และมีสติที่จะจัดการกับความกลัวนั้นอย่างเข้าใจ
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP3 ลงตัวกับความเศร้า
ความเศร้าเป็นตระกูลเดียวกับความโกธร ที่เริ่มต้นจากความไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์รอบตัว หรือตัวเอง จนท้ายที่สุดก็จะมานั่งโทษตัวเอง ลดคุณค่าในตัวเอง การทำให้เราหลุดจากความเศร้า ต้องใช้การเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปลี่ยนอารมณ์ ก็จะทำให้เราหลุดจากอารมร์เศร้าที่ครอบงำได้
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP2 ลงตัวกับความเครียด
“ความเครียด” เป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังเพื่อเตรียมการณ์อะไรบางอย่าง แต่ว่าความเครียดกลายเป็นสาเหตุที่บั่นทอนจิตใจและร่างกายของคนเรา เพราะเราไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจ ความลังเล และความวิตกกังวล แท้จริงแล้วความเครียดจะหายไปได้เมื่อหมดเหตุ หรือปล่อยวางไม่จดจ่อกับความเครียดนั้น ๆ ให้นำ “ความสบายใจมาดูแลความเครียด” นั่นเอง
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP1 ลงตัวกับความโกรธ
เวลาคนเราโกธร การให้นับ 1 ถึง 10 แล้วนิ่งไว้ เป็นคำสอนที่ไม่ผิดอะไร แต่การห้ามความโกธรนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำหรือ ? เราควรรู้วิธีเรียนรู้และยอมรับความโกธรนั้นด้วยการฝึกเดินทางสายกลาง ด้วยกระบวนการ Learning Process เรามีหน้าที่ฝึกการมี “สติ” รู้ทันเท่าความโกธร สามารถควบคุม และหาสาเหตุ ยอมรับมัน และปล่อยวางลง และมี “ปัญญา” ซึ่งจะบอกเราว่าควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรให้สอดคล้องกับกาลเทศะ
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP4 New Normal คือวิถีภายในซึ่งเป็นชีวิตวิถีใหม่
เมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในเรื่องการระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด 19 ความปกติใหม่ของการดูแลใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ New Normal คือการพัฒนาเพื่อให้จิตใจเราสามารถอยู่อย่างเป็นปกติได้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ ไม่หลงใหลไปกับความกลัว ความกังวล ความเผลอเพลิน ความคึกคะนองต่าง ๆ ที่จริงแล้วทุกคนล้วนต่างต้องการมีความสุข การจะ มีความสุขได้ก็ด้วยการพาให้ใจกลับมามีความมั่นคงก่อน คือมั่นคงต่อสิ่งที่มากระทบ
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP3 ยิ่งต่อต้านยิ่งคงอยู่
รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา กล่าวว่า ตามหลักทางจิตเวช เมื่อพบผู้ป่วยที่ทุกข์จากการต้องเผชิญวิกฤตการณ์ในชีวิต แพทย์จะไม่ทำแค่ให้ผู้ป่วยคนนั้นพ้นวิกฤตเท่านั้น แต่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนคนนั้นได้เติบโตด้วย เพื่อให้มีการพัฒนาทักษะหรือจุดบกพร่องที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนให้สามารถเผชิญกับวิกฤตการณ์อื่นที่อาจพบในอนาคต นั่นคือ “การเติบโตจากภาวะวิกฤต”
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP2 New Normal มีคุณค่าอย่างไร
ความปกติใหม่ของการดูแลใจให้ยกระดับสู่ความสุข หรือ New Normal ของใจ คือ ความเปลี่ยนแปลงเพื่อความมั่นคงจากภายในใจ ด้วยการมีความตระหนักและตื่นรู้ ไม่หลงตกร่องไปในความคุ้นชินเดิม ๆ แต่ให้เราฝึกฝนในการรู้เนื้อรู้ตัว แก้ไขนิสัยไม่ดีด้วยการยอมรับความเป็นจริงโดยไม่มีเงื่อนไข และปล่อยวางมันด้วยใจที่เป็นกลาง
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP1 1 New Normal อัตโนมัติใหม่ของใจ
รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา กล่าวว่า “ใจ” มีพื้นฐานที่ผ่องใสอยู่แล้ว แต่มีความขุ่นมัวจากกิเลสที่แวะเวียนมาเป็นครั้งคร่าว เพื่อทำให้ใจเป็นทุกข์จากอกุศลต่าง ๆ หน้าที่ของเราในการดูแลใจ คือการต้องรู้เท่าทันกิเลสที่มากระทบใจ และการเสริมสร้างแรงใจด้วยกุศล ซึ่งวิธีง่ายๆ เลยก็คือ การคิดบวก ทำอารมณ์ให้แจ่มใส เบิกบาน