เฮือนกล๋อง ป๋อเฒ่าวิ ตำนานศาสตร์และศิลป์แห่งม่อนปิ่น : สื่อศิลป์SE
ป๋อเฒ่าวิ หนึ่งในบุคคลสำคัญด้านศาสตร์และศิลป์ของชาวไทยใหญ่ใน ต.ม่อนปิ่น ผู้ที่ทำหน้าประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ตามเทศกาล เช่นกลองไทใหญ่ ฆ้องฉาบ นกกิ่งกะหล่า และยังเป็นช่างฟ้อน ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่จะรำเลียนแบบสัตว์ที่แสดงความถึงการคารวะต่อพระพุทธะเจ้าที่มาโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ ผู้มากประสบการณ์ ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจแบบนี้ ทำให้เฮือนกล่อง ป๋อเฒ่าวิ จัดว่าเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในศิลปะและวัฒนธรรม
ปิดเทอม สร้างสรรค์ รัก ผูกพัน ศรัทธา
กิจจกรรมค่ายครอบครัวสุขสันต์ สร้างสุขในชุมชน ภายใต้ การดำเนินงานของกลุ่มละครมาหยา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ดำเนินการจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ รัก ผูกพันธ์ ศรัทธา เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2563 ณ หาดทุ่งทะเล อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ผลการดำเนินกิจกรรม -เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในช่วงปิดเทอมของกลุ่มคนสองวัย เด็กและผู้สูงอายุ -เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างปราชญ์ท้องถิ่นกับเยาวชน -เกิดผลงานสื่อสร้างสรรค์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชน -เกิดช่องทางในการสื่อสารที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ -เกิดการแลกเปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ในต่างชุมชนที่เป็นต้นแบบด้านวิสาหกิจชุมชน
โคกสลุง รักษาอดีตด้วยอนาคต
โคกสลุง เผชิญวิกฤตหลายครั้ง ทั้งจากการวางผังเมืองที่กำหนดให้โคกสลุงเป็นเขตอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สร้างความกังวลสู่คนในชุมชนชาวไทยเบิ้ง ด้วยเกรงว่าวัฒนธธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อาจสูญหาย หรือกระทั่งถูกลืม อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของชุมชนไปตลอดกาล แต่คนไทยเบิ้งหาใช่ยอมศิโรราบ พวกเขาต่อสู้อย่างชาญฉลาด ผ่านการนำวัฒนธรรมมาเป็นทุนในการต่อรองกับภาครัฐ กระทั่งสามารถเปลี่ยนผังเมืองของประเทศได้ จากชุมชนที่เคยถูกหมายตาให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นแหล่งถลุงแร่ บัดนี้โคกสลุงคือ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน MIDL for Inclusive Cities
“เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน” ได้รวบรวมแนวคิด ความเห็นและมุมมองจากกิจกรรมและการทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการย่อยของ MIDL for Inclusive Cities : สร้างเมืองของทุกคน รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเมือง สิทธิที่จะอยู่ในเมือง เมืองที่นับรวมทุกคน และเท่าทันสื่อ เท่าทันข้อมูลข่าวสาร เท่าทันดิจิทัลในบริบทของความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมอีกด้วย
คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชุดกิจกรรมการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy – MIDL)เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหมาะสำหรับครูผู้สอนและนักการศึกษาที่ต้องการเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ ให้กับนักเรียน โดยผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกันได้
ออกไปเล่นสำหรับคุณครู - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล
เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์
ออกไปเล่น - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล
เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์
อย่าเล่นนานๆ - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล
เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์
หยุดคิดถาม - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล
เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์
ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม
กากดีเหลือเกินนะเรา
พราะอาหารเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และเราก็มักจะมุ่งไปที่การรับประทานอาหารจากสารอาหารทั้ง 5 หมู่ จนหลงลืมความสำคัญของสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานอย่างไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารไป ซึ่งในความเป็นจริงนั้น กากใยอาหารมีความจำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งการรับประทานอาหารที่ให้กากใยอาหารอย่างเพียงพอวันละ 5 กำมือ จะช่วยให้ร่างกายเกิดสมดุลในระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายคล่อง ลดการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ไม่เกิดอาการท้องผูก ลำไส้แข็งแรง และยังป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วย มากไปกว่านั้น ประโยชน์ของกากใยอาหาร ยังช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นจึงควรเพิ่มเมนูประเภทที่ให้กากใยอาหารสูงในแต่ละมื้อ ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี ผักและผลไม้ ถ้ารู้ตัวว่าร่างกายของเราได้รับกากใยอาหารน้อยไป ก็อยากชวนมาปฏิวัติตัวเองใหม่ ด้วยการเพิ่มเมนูที่ให้กากใยสูงตั้งแต่มื้อต่อไปเลย
เที่ยวนี้ดี
เปลี่ยนวิถีการเที่ยวครั้งใหม่ ให้ดีต่อใจ ดีต่อกาย และดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเที่ยววิถีอินทรีย์ที่เชื่อมโยงอย่างผู้คนในระบบการท่องเที่ยว ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คุณค่าของเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่ได้ให้แค่สุขภาพดีอย่างเดียว แต่ช่วยยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นด้วย