รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.11 (ตอน ตาบอดอยากกินแกงไก่ และ ตอน นกกระยางเจ้าเล่ห์)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.11 นำเสนอนิทานทุ่งซ่า ตอน ตาบอดอยากกินแกงไก่ เป็นเรื่องเล่าจาก จ.พัทลุง เล่าเรื่องสองเกลอจอมขโมยที่คนหนึ่งตาบอด คนหนึ่งตาดีแต่ชอบผายลมเสียงดัง ทั้งสองวางแผนจะไปขโมยไก่ของชาวบ้านมาแกงกิน ด้วยความโลภทั้งสองจึงขโมยไก่มากมายหลายตัว จนสุดท้ายไก่หลุดมือ และมีเสียงผายลมดังขึ้น ผลของกรรมที่ก่อไว้จึงตามมาสนอง ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่สอง ตอน นกกระยางเจ้าเล่ห์ นิทานจาก จ.กาญจนบุรี เล่าถึงนกกระยางที่ออกอุบายบอกว่าจะพาเหล่าปลาน้อยใหญ่ที่บ่อน้ำแห่งหนึ่ง ไปอาศัยอยู่บ่อน้ำแห่งใหม่ที่ใสสะอาดน่าอยู่ โดยเสนอว่าจะคาบปลาไปส่งที่บ่อน้ำแห่งใหม่ทีละตัว จนในที่สุดปลาเหล่านั้นก็ตกเป็นอาหารอันโอชะของนกกระยางเจ้าเล่ห์ จนกระทั่งมีเพื่อนปูสองตัวที่เกิดความเฉลียวใจ จึงปราบความเจ้าเล่ห์ของนกกระยางได้สำเร็จ ท้ายรายการ ชวนเด็ก ๆ มาทำลูกข่างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น มะเขือเปาะ แครอท ฯลฯ
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.10 (ตอน ชายขี้เกียจ และ ตอน ลูกแมวเอาแต่ใจ)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.10 เรียนรู้เรื่องราวสนุก ๆ จากนิทานทุ่งซ่า ตอน ชายขี้เกียจ เป็นเรื่องเล่าจากภาคเหนือ เนื้อเรื่องกล่าวถึงชายคนหนึ่งที่ตอนเป็นเด็กไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ ลาออกมาตั้งแต่ ป.4 ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มาทำอาชีพหาของป่า อยู่มาวันหนึ่งเกิดหลงป่า และอ่านป้ายเตือนหน้าถ้ำไม่ออก จนทำให้ประสบกับความยากลำบาก ส่วนนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่สอง ตอน ลูกแมวเอาแต่ใจ เป็นนิทานจากภาคอีสาน เล่าถึงแมวแม่ลูกที่อาศัยอยู่กับเศรษฐีอย่างสุขสบาย อยู่มาวันหนึ่งไฟไหม้บ้านเศรษฐี แมวแม่ลูกจึงต้องมาเลี้ยงดูตัวเอง ในแต่ละวันแม่แมวต้องไปหาอาหารมาให้ลูกแมวกินเสมอ เพราะลูกติดความสบายเมื่อสมัยอยู่บ้านเศรษฐี พอแม่แมวไม่สบาย หาอาหารมาให้ลูกกินไม่ได้ ลูกแมวก็ออกฤทธิ์เอาแต่ใจ เที่ยวตามหาแม่ใหม่มาให้ตนเอง จนสุดท้ายได้เรียนรู้ว่า ไม่มีแม่ที่ไหนดีเท่าแม่ของเราเอง ท้ายรายการชวนเด็ก ๆ มาทำนาฬิกาสำหรับนักเล่านิทาน งานศิลปะที่ช่วยให้การเล่านิทานสนุกยิ่งขึ้น
ปลูกต้นรัก (การอ่าน)
ปลูกต้นรัก(การอ่าน) เป็นหนังสือคู่มือแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับคุณครูและผู้ที่ทำงานด้านเด็ก เนื้อหาของหนังสือมาจากกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านระดับตำบลโครงการปลูกต้นรัก(การอ่าน) ที่เชียงดาว โดยกิจกรรมได้ออกแบบและพัฒนาทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 7 โรงเรียน ได้หลักสูตรการสร้างสื่อสร้างสรรค์ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน ทำให้การอ่านกลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และมีความสุขสำหรับเด็ก ๆ
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ลูกผู้ชายตัวปลอม
การ์ตูนไทยสะท้อนภาพเรื่องราวของการรู้ไม่ทันสื่อโฆษณา ผ่านเรื่องราวของน้าหลานคู่หนึ่ง ที่น้าชายเป็นพรีเซ็นเตอร์หนังโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง สร้างความประทับใจให้กับเคโต้หลานชาย ถึงกับกระโดดเลียนแบบเพราะอย่างเป็นลูกผู้ชายตัวจริงแบบน้าชาย แต่สุดท้ายเคโต้ก็พบคำตอบว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังไม่ใช่ทำให้เราเก่งกาจ หาญกล้าอย่างในหนังโฆษณา เพราะนั้นเป็นเพียงเรื่องสมมติเท่านั้น
หนังสือเสียง นิทานจิ้งหรีดย้ายบ้าน
เมื่อสองแม่ลูกจิ้งหรีดอาศัยในโพรงใต้ดินอย่างมีความสุข อยู่มาวันหนึ่งก็ถูกไส้เดือนมาบุกรุก เพราะเห็นบ้านของจิ้งหรีดเป็นทางลัดที่ผ่านได้ ภารกิจย้ายบ้านของสองแม่ลูกจิ้งหรีดจึงเกิดขึ้นในทุกรูปแบบ มาร่วมกันค้นหาคำตอบว่าสองแม่ลูกจิ้งหรีดจะได้บ้านใหม่ที่ไหนกันนะ ?
หนังสือเสียง นิทานกำเนิดลูกเจี๊ยบ
เรื่องสนุก ๆ ของมิตรภาพสัตว์ต่างๆ ทั้ง ลา แกะ หมูอ้วน และแม่ไก่ ณ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์แห่งหนึ่ง ที่บอกเล่าเรื่องราวของการกำเนิดลูกเจี๊ยบสมาชิกใหม่ของฟาร์ม จากไข่ไก่ที่แม่ไก่เฝ้าฟูมฟักจนกลายเป็นลูกเจี๊ยบที่น่ารัก
10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์
การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม
9 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์
9 วิธีการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ ได้แก่ สร้างวินัยและความรับผิดชอบ, รู้จักแบ่งเวลา, ควบคุมการใช้จ่าย, ฟังและพูดดีต่อกัน, ชื่นชมให้กำลังใจ, มีกฎกติกาอยู่ร่วมกัน, สร้างรอยยิ้ม, มีความเข้าใจลูก และการมีเวลาดี ๆ ร่วมกันในครอบครัว
ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้
ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก
ระวังภัย ซ่อนสอนลูก เมื่อเด็กดูทีวี
การนั่งดูทีวีกับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด ทำให้สามารถคัดเลือกรายการดี ๆ เพื่อดูร่วมกัน รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ระหว่างโลกจริงและโลกสมมติ ที่สำคัญยังได้หลีกเลี่ยงภัยที่ซ่อนอยู่ในจอทีวี ทั้งการพูดจาก้าวร้าว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาเกินจริง