ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
Video Presentation โครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์
คลิปวีดีโอโครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ เนื้อหาแสดงให้เห็นสถิติสำคัญของนักดื่มหน้าใหม่ที่เข้าสู่วงจรการดื่มแอลกอฮอล์ หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือการไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้กระแสการตลาดของสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายรูปแบบที่แข่งขันกันรุนแรงในปัจจุบัน ทำให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ของนักดื่มในรูปแบบที่เท่ ทันสมัย ซึ่งหากเด็กและเยาวชนไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์และเบื้องหลังการตลาดเหล่านี้ ก็อาจตกเข้าเป็นเหยื่อของการตลาดและเข้าสู่วงจรนักดื่มจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นอันตรายต่อชีวิต
ผลงานจาก โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
พบกับผลงานมากมายในการผลิตสื่อของนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” @MediaAsSocialSchool ที่นี่
MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย
หนังสือรวบรวมกรอบความคิดเรื่องของการจัดการความรู้เท่าทันสื่อสำหรับปฐมวัย ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเด็กระดับปฐมวัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ โดยเนื้อหารวบรวมค้นคว้ามาจากทั้งงานวิจัย เกร็ดความรู้ และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มองประเด็นนี้ได้อย่างรอบด้าน และนำไปประยุกต์สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป
MIDL คืออะไร
เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์
Digital Footprint
สื่อเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Digital Footprint อย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ กับคุณครูโอ-ปราศรัย เจตสันติ์ 1 ในคุณครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อ MIDL ทั้งในมุมของผู้ใช้สื่อทั่วไป บทบาทของครู และสังคมในการช่วยกันดูแลสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้เกิดขึ้นในพลเมือง