มีใบไหม รู้จัก PGS ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน
รู้จัก จิตอาสาพลังแผ่นดิน
พวกเราคงเคยเห็นคนทำงานจิตอาสาในหลาย ๆ รูปแบบ แล้วก็อาจเกิดคำถามในใจขึ้นมาว่า "แล้วคนตัวเล็กๆ อย่างเราจะทำอะไรได้บ้าง" ความจริงแล้วคนตัวเล็กๆ สามารถทำอะไรได้เยอะแยะ เยอะแบบที่เราเองอาจจะคาดไม่ถึง ทำได้อย่างไร...ติดตามในคลิปวีดีโอนี้เลย ขาดทุนคือกำไร เพราะ “การให้” และ “การเสียสละ” ย่อมมีผลกำไร ซึ่งก็คือ ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนบนแผ่นดิน โครงการจิตอาสา สอนลุงป้าเล่นโซเชียล เปิดโอกาสให้ทุกคนหรือองค์กรมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาทำความดีในแบบที่ทุกคนเลือกได้ เพราะการได้ให้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการลงแรงหรือทำงานจิตอาสาอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและยังเป็นการสร้างคุณค่า ความหมาย มุมมองและประสบการณ์ทำความดีเพื่อสังคม
รู้จักธนาคารจิตอาสา
สังคมดีต้องใช้อะไรสร้าง ? เงิน หรือ แรงงาน สิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ก็คือ “เวลา” ในแต่ละวันคนเรามีเวลาเท่ากัน แต่ละคนจะใช้เวลาอย่างไรให้ก่อประโยชน์กับสังคม บางใช้เวลากับการทำงาน ใช้เวลากับการเดินทาง ใช้เวลากับการเที่ยวและดูหนัง จะดีกว่าไหม ถ้าเรานำเวลาอันมีค่าไปฝากที่ธนาคารจิตอาสา เพื่อแบ่งปันเวลานั้นมาสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม ธนาคารจิตอาสาจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับองค์กรอาสา เพื่อแจ้งข่าวงานอาสาที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสมให้กับทุกคน ไม่จำกัดเพศ วัย และอาชีพ ทุกคนสามารถลงแรง ปันเวลา เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ร่วมกัน สนใจสมัครออมเวลาที่ธนาคารจิตอาสา คลิก www.JitArSaBank.com
วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict
เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ทีม LI2T โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
เรื่อง : Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ประเด็น : สุขภาวะในชุมชน ผลงานจาก : ทีม L.I.2T จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สมาชิก : นางสาวกริสรินทร์ บุญรวิวัฒน์ นางสาวแพรวา คงฟัก นางสาวกัญญา เบี้ยเลี่ยม ผลิตสื่อของนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” @MediaAsSocialSchool
แนะนำสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
แนะนำ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน หรือ สสย. ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) มีพันธกิจพัฒนาคุณภาพสื่อ ช่องทางสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างเสริมกระบวนการรู้เท่าทันสื่อและองค์ความรู้ต่างๆ ทำงานประสานเครือข่ายภาคี และร่วมผลักดันนโยบาย และกฎหมายเพื่อสร้างโอกาสให้สื่อเด็กและเยาวชน
รู้จักมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
คลิปวีดีโอแนะนำมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบของสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทย ทำหน้าที่ให้ความรู้ ชี้แจง ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้และพัฒนากิจกรรมที่จะทำให้เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครูและโรงเรียนได้เข้าใจและเกิดศักยภาพการรู้เท่าทันสื่อไอซีทีอย่างรอบด้าน ผ่าน 3 ภารกิจหลักคือ 1. ขับเคลื่อนนโยบายการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และรู้เท่าทัน 2. พัฒนาศักยภาพด้าน ICT ให้กับเด็ก เยาวชน คนพิการ และผู้สูงอายุ และ 3. ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานพัฒนาสังคม