trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ระยะท้าย" พบ 42 ข้อมูล

วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict

เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน  ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง

วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส

”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร  เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน  เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่  สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย  การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม

วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี

ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล  แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว

วิชาชีวิต ตอน เตรียมใจ : Jones Salad หนุ่มนักธุรกิจสายสุขภาพชวนคุยเรื่องผู้ป่วยระยะท้าย

สิ่งที่ทุกคนกลัวตายไม่ได้กลัวที่ตาย แต่ไม่อยากมีช่วงที่ทรมาน กลัวทรมาน กลัวเป็นภาระ กลัวการพลัดพราก กลัวความห่วง คุณกล้อง นักธุรกิจหนุ่มสายสุขภาพ เจ้าของร้าน Jones Salad ได้พูดคุยกับ  รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ถึงความสำคัญของการเตรียมตัวตาย เพราะโดยหน้าที่ของแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่สบายและตายดีด้วย ทำอย่างไรจึงจะให้คนไข้จากไปอย่างสงบ ทีมแพทย์  ผู้ดูแลหรือญาติ รวมทั้งผู้ป่วยต้องเข้าใจและเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการสื่อสารที่ดี เราต้องสร้างความมั่นใจว่า “เราไม่ทิ้งกัน” เพียงแค่นี้ก็เป็นการวางแผนชีวิตที่ดีในปั้นปลาย

เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง

“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน  

เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์

“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป  แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”    

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ

คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว  

รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน

บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ  

The Last Life Lesson ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ โดย รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี --  เมื่อผู้ป่วยระยะท้ายต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน  การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ?  ห้องฉุกเฉินสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ได้จริงหรือไม่ ?     

วิชาชีวิต Live 5 เตรียมหรือไม่เตรียม โดย ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ vs จ่า Drama-addict

ถาม-ตอบ หลากหลายประเด็นเรื่องผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี เปิดมุมมองคู่ใหม่ของสองนายแพทย์ คุณจ่า Drama มาในฐานะไม่ใช่คุณหมอ ถามแทนคนที่ไม่รู้เบื้องลึก ให้มีความรู้ลึกซึ้ง เป็นการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยระยะท้าย... ที่บอกว่าเตรียมตัวแล้วนั้นเป็นการเตรียมที่ถูกต้องแล้วหรือยัง แล้วเตรียมอย่างไรจึงไม่ให้เกิดดราม่าในครอบครัว รวมทั้งคำถามสุขภาพที่คุณจ่ามักจะได้รับหลังไมค์   “การพูดคุยเรื่องความตายไม่ใช่การแช่ง แต่มันคือการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องตายอยู่ดี” จ่า Drama-addict

วิชาชีวิต บทที่ 14 การ Shutdown ของร่างกาย - รศ.พญ.ปัทมา โกมุทบุตร

เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายจนกระทั่งใกล้เสียชีวิต ร่างกายจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของโรค การทำความเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงขณะนั้น จะช่วยให้สามารถปฏิบัติตัวและตัดสินใจในสถานการณ์นั้น โดยยึดตามเจตนาของผู้ป่วยได้อย่างไม่ให้ตระหนก   สภาพร่างกายเปรียบเหมือนไฟในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเข้ามาสู่ระยะท้ายร่างกายจะค่อย ๆ หยุดทำงาน เหมือนกับดวงไฟจะค่อย ๆ หรี่ลงทีละดวง จนกระทั่งดับสนิท ช่วงอาการที่หรี่ลงเหมือนดวงไฟนี้ เรียกให้เข้าใจง่ายว่า 1. ช่วงไม่กล่าว 2. ไม่กิน 3. ไม่กลืน

วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์

ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.