Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รอ" พบ 522 ข้อมูล

วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์

การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว  เรื่องของกำลังใจ  หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี  มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ  เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย  “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย  หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ

วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู

“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ  แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข  ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น  และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย

วิชาชีวิต บทที่ 1 ตาย ศาสตร์ - รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

การเตรียมตัวตายอย่างมีคุณภาพชีวิต  เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตั้งคำถามกับตนเอง  ไม่ว่าจะเพื่อบุพการี ตัวเอง  หรือแม้แต่เพื่อคนที่เรารัก  ด้วยสังคมในทุกวันนี้ที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า  คนเรามีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้น แสดงว่าคนไทยมีอายุยืนขึ้น  และอีกไม่ช้าสังคมไทยเราก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเมื่อก่อนมาจากโรคติดเชื้อ แต่ในวันนี้ คนไทยตายจากความเสื่อมของอวัยวะและร่างกาย “การยื้อความตาย” เป็นคำถามที่ต้องฉุกคิดทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่จะจากไป  ว่าเราจะมีวิธีการอยู่  หรือ จากไปอย่างมีความสุข ไม่กังวล และสุขภาวะที่ดีได้อย่างไร ...อยู่ให้เป็นสุข ตายให้สบาย...

หลักสูตร วิชาชีวิต

หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข        

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ

ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม  แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่

 เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ  ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา  ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง

สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ

ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน คาถาสูงวัยรู้ทันสื่อ

ผู้สูงอายุ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่บ้าน  บางครั้งก็จะถูกสื่อต่างโฆษณาเชิญชวนให้มีความอยากซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เกินความจำเป็น ผู้สูงอายุจึงต้องมีคาถาในการรู้เท่าทันสื่อทั้งหลาย ว่า จำเป็นไหม...ไปหาข้อมูลก่อน...เดือดร้อนใครหรือไม่  ท่องไว้ให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการตามคำโฆษณา

แผ่นพับแนวแนะและแนวปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน

สื่อแผ่นพับ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและศักยภาพให้กับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ปี) อย่างบูรณาการ นำเสนอแนะแนวให้ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กด้วยความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพหรือนิทาน

โปสเตอร์ หนังสือสร้างสุขสมรรถนะเด็กสร้างได้

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้จัดทำ “หนังสือภาพ”  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด – 6 ปี) ให้มีสมรรถนะ หรือ Competency กระตุ้นการทำงานของสมองของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 ด้าน คือ พัฒนาการด้านภาษา, พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา, พัฒนาการด้านจินตนาการและการสร้างสรรค์, พัฒนาการด้านอารมณ์, พัฒนาการด้านสังคม, พัฒนาการด้านจริยธรรม และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย  

คู่มือดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเจ้าตัวเล็ก ฟ ฟัน สนุกจัง

รู้หรือไม่ ? เด็กที่มีฟันผุ จะมีพัฒนาการและการเติบโตที่ช้ากว่าเด็กที่มีสุขภาพฟันที่ดี คู่มือการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเล่มนี้ เป็นแนวทางการดูแลฟันให้กับเจ้าตัวน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ จนกระทั่งมีฟันแท้ที่สมบูรณ์

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.