ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย
อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้
หนังสือภาพ อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้ สะท้อนภาพวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยสื่อแทนสองพี่น้องอดัมกับฟาตีมา ซึ่งมีทักษะในการป้องกันตนเอง และเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้อย่างมีสติ ไปขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ได้ทันเวลา หนังสือภาพเล่มนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา ท้ายเล่มยังมีการสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ฝึกทักษะการป้องกันตัว และวิธีการปฏิบัติตนเองเมื่อเกิดเพลิงไหม้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ ป้ายรถ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ พวกแบ่งแยกดินแดน โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่ กับน้องๆ กลุ่ม Young Guide ที่เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชน จึงได้ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ให้คนในชุมชน
เท่ง คิดดีไอดอล นักสื่อสาร - สสส.
เท่ง ตัวละครหนังตะลุงใต้ ชวนกันมาเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ "เปลี่ยน"สังคม ด้วยพลังสื่อคนรุ่นใหม่ ภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย
สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข
หนังสืออยากมีเพื่อน
เรื่องเล่า “หนังสืออยากมีเพื่อน” เป็นเสียงสะท้อนเล็กๆ ของหนังสือที่เดินทางแรมรอนมา โดยไร้คนเหลียวแล ท่ามกลางบรรยากาศกลิ่นไอของท้องทะเลภาคใต้ จนมีเด็ก ๆ นักอ่านมาช่วยไว้ และเป็นเพื่อนใหม่ของกันและกัน นับเป็นนิทานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่32 เดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2560
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้แนะนำให้รู้จักโครงการ "คิดดี ไอดอล นักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ" ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ออกมาแสดงความสามารถในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ โดยครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้ 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. เท่าทันสื่อ 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. ท้องไม่พร้อม พร้อมเรื่องราวน่าสนใจเรื่องอื่น ๆ คับแน่นคุณภาพเต็มฉบับเหมือนเดิม