คู่มือพ่อแม่ พัฒนาลูกน้อยด้วยหนังสือ ลูกรักกับหนังสือเล่มแรก
“หนังสือ” สิ่งมหัศจรรย์ที่ลึกซึ้ง พ่อแม่สามารถส่งมอบให้ลูกได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ การเลือกสรรหนังสือเล่มแรกเพื่ออ่านให้ลูกฟังเมื่ออยู่ในท้อง จะสร้างสายสัมพันธ์อันดีสุดแสนอบอุ่น และเมื่อลูกคลอดลืมตาดูโลก เสียงที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังจะเสริมและพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกได้อย่างวิเศษ เมื่อลูกเติบโตการที่พ่อแม่อ่านหนังสือพร้อมกับลูกจะเป็นการบ่มเพาะการเรียนรู้ที่ดี ช่วยเสริมสุขภาวะทางปัญญา ทางสมองได้เป็นอย่างดี
รู้ทันอารมณ์คนเป็นพ่อแม่ คำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ถึงแปดขวบ
ลูกคือกระจกสะท้อนพ่อแม่ คู่มือรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองของคนเป็นพ่อแม่ เพื่อการเลี้ยงดูลูให้เติบโตขึ้นมามีพัฒนาการที่ดีทั้ง อารมณ์ ความรู้สึก และสติปัญญา หากอยู่ในครอบครัวที่มีสัมพันธภาพที่อบอุ่น
สูบบุหรี่ในบ้าน ผลร้ายสู่คนใกล้ชิด
เผยผลสำรวจที่ผ่านมา พบ 82 % ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ในบ้าน ทำให้วัยรุ่นมีแนวโน้มติดบุหรี่มากกว่าบ้านที่ปลอดบุหรี่ถึง 3 เท่า เพราะฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงลูกติดบุหรี่ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ เรามาเริ่มต้นทำให้บ้านเป็นที่ปลอดบุหรี่
กิจกรรมวันปิดเทอม
เมื่อถึงช่วงปิดเทอม พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี ซึ่งเป็นวัยแห่งการแสวงหาความรู้ และท้าทายความแปลกใหม่ ควรจะลองหากิจกรรมทำร่วมกับลูก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพากันไปออกกำลังกาย ไปท่องเที่ยว เข้าค่าย และให้ลูกลองไปสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานพาร์ตไทม์ หรือกิจกรรมจิตอาสาก็จะเป็นผลดีต่อพัฒนาการทางจิตใจ
เข้าใจวัคซีนผิดๆ ทำเด็กป่วย
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกังวลเรื่องการฉัดวัคซีนให้ลูก เรามาทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนกันเถอะ วัคซีนแม้จะทำจากไวรัสและแบคทีเรีย แต่ก็ไม่ได้เป็นพิษ กลับเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนไม่ได้ก่อให้เกิดโรคออทิสติก หรือทำให้เป็นหมัน มีบุตรยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่นำลูกไปรับวัคซีนตามวัย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ได้
ฝึกลูกน้อยกินผัก
มาสร้างความคุ้นเคยให้เด็กชอบกินผักกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก อายุ 6 เดือน เลือกผักรสกลาง ๆ ปรุงให้เปื่อย และย่อยง่าย อายุ 10 – 12 เดือน เลือกผักมีกากใยที่เคี้ยวได้ อย่างกระหล่ำปลี พออายุ 2 – 3 ขวบ กินได้ทั้งผัดสดและผักดิบ นำมาผสมในเมนูโปรดของลูก สำหรับเด็กโต นำผักมาดัดแปลงทั้งรูปร่างและสีสันให้น่ากินมากยิ่งขึ้น
เทคนิคจูงใจให้เด็กเริ่มอ่าน
เมื่อการอ่านคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เราจึงควรส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ๆ ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าตัวน้อย วิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ เริ่มเปิดหนังสือเพื่อ 'อ่าน' ด้วยความสุขและความรักนั้นจะต้องทำอย่างไร ดูเทคนิคจากอินโฟกราฟิกนี้ได้เลย
7 วิธีปลูกฝังให้เจ้าตัวเล็กให้รักการอ่าน
การจะปลูกฝังเด็กให้เป็นรักการอ่านไม่ใช่เรื่องยาก อินโฟกราฟิกนี้ รวบรวม 7 เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังให้ลูกน้อยรักการอ่าน กุญแจสำคัญแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในชีวิต
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
พ่อแม่สำคัญกว่าใคร ผู้สร้างขั้นบันไดของการอ่าน โดย ครอบครัว ธนะชัย สุทรเวช
คลิปการถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคการใช้นิทานเพื่อส่งเสริมการอ่านและพัฒนาของเด็ก หัวข้อ "พ่อแม่สำคัญกว่าใคร ผู้สร้างบันไดของการอ่าน" โดย ครอบครัว ธนะชัย สุทรเวช หรือ พ่อเมฆ และ แม่เอ๋ย จากสำนักพิมพ์ก้อนเมฆ ผู้ที่ผันตัวเองเข้าสู่โลกของการสร้างสรรค์นิทาน จากจุดเริ่มต้นของการเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูก โดยพ่อเมฆและแม่เอ๋ยได้เล่าถึงประสบการณ์การใช้นิทาน ผลดีของนิทานที่มีต่อการเรียนรู้และความอบอุ่นในครอบครัว และแนะนำเทคนิคการเลือกหนังสือนิทานแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างสรรค์นิทานขึ้นมาด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ ให้กับคุณครูและคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจอีกด้วย