Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "พฤติกรรม" พบ 19 ข้อมูล

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน

ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย

ผู้หญิงละเลยสุขภาพ ระวัง วัยทองมาไว

ผู้หญิงอาจไม่เคยรู้เลยว่า การละเลยการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจส่งผลให้ปัญหาวัยทองมาเร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็น อินโฟกราฟิกชิ้นนี้มีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพให้กับสาว ๆ พร้อมทั้งสัญญาณให้สังเกตถึงอาการของวัยทองที่จะเข้ามาเยือนว่ามีลักษณะอย่างไร

หวาน ให้มันน้อยๆหน่อย

ในแต่ละวันร่างกายคนเราต้องการน้ำตาลแค่นิดเดียว ผู้ชายต้องการเพียง 9 ช้อนชา ผู้หญิงต้องการเพียง 6 ช้อนชา การกินหวานมาก ๆ จะทำให้เราเกิดความรู้สึกหิวตลอดเวลา วิธีง่ายในการลด ละ เลิก หวาน คือ สั่งอาหารบอกให้ลดหวาน กินข้าวกล้อง และผลไม้ไม่หวาน เช่น กล้วย ฝรั่ง แอปเปิ้ล เมื่อไรอยากกินหวานให้ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว หรือกินถั่วเปลือกแข็งทดแทน

เราเลิกกันเถอะ บอกเลิกพฤติกรรมเคยชินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

ชวนกันมาบอกเลิกพฤติกรรมที่ส่งผลเสียกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น เลิกกินไปเล่นมือถือไป เลิกนั่งไขว้ห้างจะทำให้กระดูกสันหลังคด เลิกเขี่ยผักทิ้ง เลิกดิ่มเหล้าพ่นบุหรี่ เลิกกินแล้วนอน เลิกเครียด เลิกโกรธ เลิกเศร้า เลิกพฤติกรรมเหล่านั้น แล้วหันมาเริ่มต้นรักการออกกำลังกายกันเถอะ

5 วิธีจัดการกับฮอร์โมนความหิว

ฮอร์โมนหิว มีชื่อเรียกว่า “เกรลิน” หลั่งออกจากเซลล์กระเพาะอาหารเพื่อสั่งสมองให้เกิดความรู้สึกหิว ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นคนกินพร่ำเพรื่อ มี 5 วิธีการจัดการกับเกรลิน คือ 1. กินอาหารประเภทโปรตีนเยอะ ๆ เพื่อยับยั้งการผลิตเกรลิน 2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงเพราะจะไปกระตุ้นเกรลินทำให้หิวบ่อย 3. ถ้าหิวให้หันมากินอาหารมื้อเล็ก ๆ แทน 4. อย่าเครียด และ 5. อย่านอนดึก เพียงเท่านี้ เราก็จัดการกับฮอร์โมนหิวได้แน่นอน

ซื้อยาเอง สะดวกบนความเสี่ยง

คนไทยมีสถิติการใช้ยาสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ถึง 3 เท่า จากผลสำรวจพบว่าคนไทยที่ป่วย มักเลือกที่จะซื้อยามากินเองกว่า 98 % นับเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงและส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะอาจทำให้ดื้อยา ได้รับยาเกินขนาด ใช้ยาผิดประเภท หรืออาจทำให้เสพติดยาได้ในที่สุด

10 พฤติกรรมการใช้ยาผิดๆ

ยารักษาโรค หากใช้ผิดวิธีอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ยา ส่วนใหญ่มักคิดว่าการใช้ยารักษาโรคคือการป้องกันโรค ทั้งที่แท้จริงแล้วการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง นอกจากนี้การไม่ฟังคำแนะนำของเภสัชกร เพิ่มหรือลดยาด้วยตัวเอง การเก็บยาผิดวิธี การนำยาของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งการไม่มีวินัยในการใช้ยา เช่น ลืมกินยา ก็จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน

โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี

การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

เปิดโลกอ่านสร้างสุข จากโรงเรียนสู่ชุมชน สถานศึกษาต้นแบบ ชุมชนอ่านสร้างสุข

การอ่านเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสมอง ทำให้มีความคิดกว้างขวางขึ้นและมีทักษะการคิดเป็นขั้นตอน การปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมรักการอ่าน ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว และขยายผลมาสู่โรงเรียน จากนั้นขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาต้นแบบ และในที่สุดก็สร้างเป็นชุมชนอ่านสร้างสุข ซึ่งนั่นคือ ที่มาของ “โครงการอ่านสร้างสุข” ที่เด็ก ๆ สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แทนการติดเกม เป็นการเปิดจินตนาการการเรียนรู้ที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างไม่จบสิ้นจากโลกการอ่าน

รายงานการวิจัยสถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย

บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.