พีระพัฒน์ เหรียญประยูร - การจัดกระเป๋าเดินทางครั้งสุดท้าย ที่ลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้
คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ
นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ - กระบวนการตายตามธรรมชาตินั้นสั้นและเจ็บปวดน้อยกว่า
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย - ทำไมคนป่วยหนักหรือในภาวะใกล้ตายจึงเกิดภาพหลอน
บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด
ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน
บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ
The Last Life Lesson ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ โดย รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี -- เมื่อผู้ป่วยระยะท้ายต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ? ห้องฉุกเฉินสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ได้จริงหรือไม่ ?
วิชาชีวิต Live 5 เตรียมหรือไม่เตรียม โดย ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ vs จ่า Drama-addict
ถาม-ตอบ หลากหลายประเด็นเรื่องผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี เปิดมุมมองคู่ใหม่ของสองนายแพทย์ คุณจ่า Drama มาในฐานะไม่ใช่คุณหมอ ถามแทนคนที่ไม่รู้เบื้องลึก ให้มีความรู้ลึกซึ้ง เป็นการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยระยะท้าย... ที่บอกว่าเตรียมตัวแล้วนั้นเป็นการเตรียมที่ถูกต้องแล้วหรือยัง แล้วเตรียมอย่างไรจึงไม่ให้เกิดดราม่าในครอบครัว รวมทั้งคำถามสุขภาพที่คุณจ่ามักจะได้รับหลังไมค์ “การพูดคุยเรื่องความตายไม่ใช่การแช่ง แต่มันคือการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องตายอยู่ดี” จ่า Drama-addict
วิชาชีวิต Live 4 เตรียมประคับประคอง โดย รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช vs ดีเจพี่อ้อย
เมื่อการรักษาไม่ก่อประโยชน์ จะประคับประคองต่อได้อย่างไร การตระหนักถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต แม้ในเวลาที่ความตายใกล้เข้ามา ร่วมกันทำความเข้าใจถึงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เพื่อให้ลมหายใจสุดท้ายเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งกับครอบครัวและผู้จากไป เพราะการยื้อชีวิตอาจไม่ใช่คำตอบที่ใจต้องการ “จะมีสักกี่คนที่ได้อยู่กับคนที่เรารักในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ส่วนใหญ่จะอยู่กับหมอและพยาบาล ดังนั้น ถ้าเราอยากมีลมหายใจสุดท้ายที่มีความสุขกับคนที่เรารัก การเลือก (การรักษา) จึงเป็นสิ่งสำคัญ” ดีเจพี่อ้อย
วิชาชีวิต บทที่ 14 การ Shutdown ของร่างกาย - รศ.พญ.ปัทมา โกมุทบุตร
เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายจนกระทั่งใกล้เสียชีวิต ร่างกายจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของโรค การทำความเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงขณะนั้น จะช่วยให้สามารถปฏิบัติตัวและตัดสินใจในสถานการณ์นั้น โดยยึดตามเจตนาของผู้ป่วยได้อย่างไม่ให้ตระหนก สภาพร่างกายเปรียบเหมือนไฟในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเข้ามาสู่ระยะท้ายร่างกายจะค่อย ๆ หยุดทำงาน เหมือนกับดวงไฟจะค่อย ๆ หรี่ลงทีละดวง จนกระทั่งดับสนิท ช่วงอาการที่หรี่ลงเหมือนดวงไฟนี้ เรียกให้เข้าใจง่ายว่า 1. ช่วงไม่กล่าว 2. ไม่กิน 3. ไม่กลืน
วิชาชีวิต บทที่ 13 การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
เมื่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียงจนถึงผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งที่ต้องเตรียมมีทั้งมิติทางของทางร่างกายและจิตใจ ทั้งของผู้ป่วยและผู้ดูแลผสมผสานกันในแบบเฉพาะของครอบครัวนั้นๆ เช่น การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นที่บ้าน การติดต่อประสานเรื่องอาการกับบุคลากรการแพทย์ ผู้ป่วยไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาการหนักที่บ้านทำอย่างไร ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านทำอย่างไร
วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา