เปิดโลกอาสา : อาสาข้างเตียง
ธนาคารจิตอาสา ร่วมกับ เพื่อนๆ จิตอาสา ชวนทุกคน ...เลือกเวลาที่ใช่ กับกิจกรรมที่ชอบ... เปิดโลกอาสา กับ โครงการอาสาข้างเตียง เครือข่ายพุทธิกา เป็นอีกหนึ่งงานอาสาที่ผู้มาร่วมอาสา ต้องมาด้วยหัวใจ เพราะเป็นงานที่ต้องเยียวยาและดูแลผู้ป่วยเรื้องรัง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และผู้สูงอายุ ด้วยการให้เวลา พูดคุย รับฟัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าร่วมงานอาสาข้างเตียงได้ทุกคน แม้กระทั่งผู้ป่วยด้วยกันเอง ก็สามารถมาทำงานอาสาส่วนนี้ได้ ขอเพียง เรามี “หัวใจเกื้อกูล กรุณาต่อกัน” ก็เพียงพอกับคุณค่าของชีวิตแล้วสนใจทำงานอาสา คลิก www.JitArSaBank.com
วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค
การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้ เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”
วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย
หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ
วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
คุณอรทัย ชะฟู จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ
วิชาชีวิต ตอน เตรียมประคับประคอง : การต่อสู้ระหว่าง ความรัก กับ ความรัก เปิดใจถามโดยดีเจพี่อ้อย
จากประสบการณ์การรักษาทางการแพทย์ คนเราจะรู้ตัวว่าจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ประมาณ 3 เดือนก่อนช่วงสุดท้าย ทีมผู้ดูแลต้องเรียนนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วย “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” การดูแลแบบนี้เป็นการมอบความสุขสุดท้ายของชีวิตให้ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การรักษาทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิต จิตใจ และความต้องการที่ค้างคาใจของผู้จากลาให้จากไปอย่างสงบในชีวิตจริง ๆ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข หรือ Living Will เพื่อต้องการวางแผน “ตายดี” ไม่ต้องการทุกข์ทรมาน ดังนั้น ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ต้องเรียนรู้ และหารือพุดคุยกัน เพื่อการเตรียมประคับประคองการต่อสู้กันระหว่าง “ความรัก “ ความห่วงใยที่ไม่อยากให้คนที่รักเจ็บปวด กับ “ความรัก” ความอาลัยที่ไม่อยากจากคนที่รัก
วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict
เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส
”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม
วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี
ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว
วิชาชีวิต ตอน เตรียมใจ : Jones Salad หนุ่มนักธุรกิจสายสุขภาพชวนคุยเรื่องผู้ป่วยระยะท้าย
สิ่งที่ทุกคนกลัวตายไม่ได้กลัวที่ตาย แต่ไม่อยากมีช่วงที่ทรมาน กลัวทรมาน กลัวเป็นภาระ กลัวการพลัดพราก กลัวความห่วง คุณกล้อง นักธุรกิจหนุ่มสายสุขภาพ เจ้าของร้าน Jones Salad ได้พูดคุยกับ รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ถึงความสำคัญของการเตรียมตัวตาย เพราะโดยหน้าที่ของแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่สบายและตายดีด้วย ทำอย่างไรจึงจะให้คนไข้จากไปอย่างสงบ ทีมแพทย์ ผู้ดูแลหรือญาติ รวมทั้งผู้ป่วยต้องเข้าใจและเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการสื่อสารที่ดี เราต้องสร้างความมั่นใจว่า “เราไม่ทิ้งกัน” เพียงแค่นี้ก็เป็นการวางแผนชีวิตที่ดีในปั้นปลาย
เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง
“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน
เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์
“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”
ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร - เมื่อความตายรออยู่เบื้องหน้าจึงรู้ว่าสิ่งใดสำคัญที่สุดในชีวิต
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson บทความสัมภาษณ์ ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่างๆ และการตระหนักถึงคุณค่าความหมายสูงสุดของชีวิต เพราะชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและเราควรจะใช้ชีวิตในตอนนี้อย่างไรให้มีคุณภาพ อีกทั้งเรื่องความปรารถนาดีของเราในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่อาจกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยหรือคนที่เรารักในทางอ้อม เราจึงควรปรับทัศนคติ คำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยระยะท้ายและคนที่เรารักเป็นสำคัญ โดยการเติมเต็มความสุขที่เป็นการเคารพความต้องการซึ่งกันและกัน