trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผู้ป่วย" พบ 59 ข้อมูล

คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา

ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น   มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”

คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้

เมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว แน่นอนว่าทุกคนอยาก “รักษาให้ถึงที่สุด” แต่ถ้าความเจ็บป่วยเดินทางมถึงระยะสุดท้าย เราควรเลือกการรักษาแบบไหนดี? เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างและยื้อความเจ็บปวดให้ยาวนานยิ่งขึ้น “ทางเลือกที่เลือกได้” คู่มือที่ช่วยแนะนำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขให้แก่ผู้ป่วยระยะท้าย     เพื่อให้คนที่เรารัก “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2560

ในชีวิตของแต่ละคนไม่มีใครหลีกพ้นความตายไปได้ เราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ อย่างไร การพูดถึงเรื่องตายไม่ใช่เป็นการแช่งตนเอง แต่เป็นการตระเตรียมเส้นทางที่จะเดินทางไปโลกหน้าไม่วันใดก็วันใด ด้วยสติ สุข และสงบ ที่เขาเรียกว่า การตายอย่างมีคุณภาพ บทเรียนจากผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้สุญเสีย ได้สะท้อนให้เราย้อนคิด  ให้เราทุกคนมีอนุสติ หรือการตามความระลึกในเรื่องนี้อย่างไม่ประมาท เพราะเราไม่รู้เลยว่าเส้นทางบนโลกใบนี้ของเราจะจบลงเมื่อไหร่

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2559

“บางครั้งความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ก็เป็นความจริงที่สามารถพาเราออกจากทุกข์ได้ เมื่อเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง” พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวไว้ เมื่อถอดบทเรียนการสูญเสียเสาหลัก และศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งประเทศและทั่วโลก ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  คนไทยได้เรียนรู้ข้อคิดจากคุณงามความดีของพระองค์เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2558

“ทุกวันมีคนตาย ทุกความตายมีบทเรียน” เสมือนพระอาทิตย์เมื่อมีขึ้น ก็ต้องมีตกเป็นธรรมดาทุกวัน หลากหลายเหตุการณ์ของความตายที่ผ่านมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็น การละสังขารของหลวงพ่อคูณ, ความอลหม่านหลังการตายในเหตุระเบิดราชประสงค์, การฆ่าตัวตายของสิงห์ ประชาธิป มุสิกพงศ์, ความตายจากการอพยพลี้ภัยของชาวซีเรีย, งานศพอลังการของคุณนงนุช ตันสัจจา ผู้ก่อตั้งสวนนงนุช พัทยา และการจากไปอันธรรมดาของคุณประภัสสร เสวิกุล ล้วนมีบทเรียนให้เราได้มุมมอง และแง่คิด เพื่อมาย้อนคิด และทบทวนความจริงในความตายของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ตัวเรา                

สั่ง เสียก่อนตาย

สั่ง_เสียก่อน_ตาย  เป็นหนังสือที่ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของแพทย์ พยาบาล ญาติและผู้ดูแลของผู้ป่วยระยะสุดท้าย การที่ผู้ป่วยสามารถได้บอกล่าวถึงสิ่งที่ตนเองปรารถนา  หรือสิ่งที่อยากทำ เพื่อให้คนที่อยู่เคียงข้างได้จัดเตรียมให้  หรือได้ทำตามที่ร้องขอนับว่าเป็นเรื่องดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อจัดการเรื่องต่าง ๆในชีวิตอย่างหมดห่วง และเดินทางไปสู่โลกหน้าอย่างมีความสุข

ความตาย ภาวะใกล้ตาย สื่ออย่างไรให้เข้าถึงใจ

วิกฤตที่สุดในชีวิตของมนุษย์ คือการรู้ตัวว่าอยู่ในสภาวะคนใกล้ตาย แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราเกิดมาทุกคนต้องตาย แต่การสื่อสารกับทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วย จะทำอย่างไรให้เพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตที่กำลังจะจากไป  และที่ยังดำรงอยู่ การฟังอย่างกรุณา ไม่ด่วนตัดสิน พูดชื่นชมในสิ่งดี ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจและความสุขของกันและกัน นั่นคือ การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เดินทางจากไปอย่างมีความสุข ส่วนผู้ดูแล ครอบครัว ที่ยังต้องก้าวเดินต่อไปก็จะอยู่กับความทรงจำที่สวยงามที่มีต่อกันตลอดไป

ความตาย พูดได้ พูดถึงความตายอย่างไรดี

ความตายเป็นความจริงของธรรมชาติที่คนเราอย่างไรก็ต้องเจอ  เพียงแต่เราจะไม่รู้วันและเวลาที่แน่นอนว่าเมื่อไหร่...ความตายจะเข้ามาทักทายและนำคนที่เรารักหรือแม้กระทั่งตัวเราเองต้องจากครอบครัวไป  ในสังคมจึงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตาย เพราะถือว่าเป็นเรื่องเศร้า เรื่องไม่เป็นมงคล  แต่แท้จริงแล้วการหาเวลาในการสื่อสารเรื่องความตายในครอบครัว หรือคนรอบข้างเป็นสิ่งที่เราควรสื่อสาร ควรพูด เพื่อใช้ช่วงเวลาในการเตรียมใจ และเตรียมตัวจากไปอย่างสงบทั้งผู้เดินทาง และผู้ส่งผู้เดินทางน็น  

คลายโศก

ความสูญเสียจากคนที่เรารักย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้า การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ทุกชีวิตสามารถฟื้นฟู เยียวยา และดูแลตนเองได้ ขอเพียงเรามีกันและกัน  และระลึกไว้เสมอมว่าความตายเป็นความจริงของชีวิต เราทำดีที่สุดแล้วในการส่งคนที่เรารักเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่อย่างมีความสุข  และเราเองก็ต้องก้าวต่อไปเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อดูแลครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างเรา

แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย

บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข

เก็บสุข กลางทุกข์

คนที่ต้องเผชิญความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งผู้ป่วยเอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กระทั่งบุคลากรสุขภาพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้าย ย่อมหลีกหนีความรู้สึกโศกเศร้าและเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกความรู้สึกนั้นให้เป็นพลังใจที่แข็งแกร่งขึ้นมา  ใช่ !!! นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราจะค้นหาความสุข ท่ามกลางความทุกข์ได้ด้วยวิธีไหน ? อย่างไร ?  หนังสือเก็บสุข กลางทุกข์ จะพาไปพบคำตอบจากบันทึก 23 เรื่อง จาก 14 ผู้เขียนที่จะแบ่งปันแนวคิดและทัศนคติเชิงบวก แนะวิธีการปฏิบัติตนอย่างมีสติ เตรียมตัวและเตรียมใจในการรับมือ รวมทั้งบอกเล่าการเติมเต็มหัวใจที่โศกเศร้าให้อบอุ่นจากกำลังใจคนรอบข้าง เพื่อส่งแรงหนุนให้เราก้าวข้ามเรื่องราวต่าง ๆ ไปอย่างเข้มแข็ง

Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ”  ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.