trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผู้ป่วยระยะท้าย" พบ 36 ข้อมูล

วิชาชีวิต ตอน เตรียมใจ : Jones Salad หนุ่มนักธุรกิจสายสุขภาพชวนคุยเรื่องผู้ป่วยระยะท้าย

สิ่งที่ทุกคนกลัวตายไม่ได้กลัวที่ตาย แต่ไม่อยากมีช่วงที่ทรมาน กลัวทรมาน กลัวเป็นภาระ กลัวการพลัดพราก กลัวความห่วง คุณกล้อง นักธุรกิจหนุ่มสายสุขภาพ เจ้าของร้าน Jones Salad ได้พูดคุยกับ  รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ถึงความสำคัญของการเตรียมตัวตาย เพราะโดยหน้าที่ของแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่สบายและตายดีด้วย ทำอย่างไรจึงจะให้คนไข้จากไปอย่างสงบ ทีมแพทย์  ผู้ดูแลหรือญาติ รวมทั้งผู้ป่วยต้องเข้าใจและเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการสื่อสารที่ดี เราต้องสร้างความมั่นใจว่า “เราไม่ทิ้งกัน” เพียงแค่นี้ก็เป็นการวางแผนชีวิตที่ดีในปั้นปลาย

เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง

“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน  

เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์

“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป  แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”    

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ

คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว  

รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน

บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ  

The Last Life Lesson ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ โดย รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี --  เมื่อผู้ป่วยระยะท้ายต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน  การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ?  ห้องฉุกเฉินสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ได้จริงหรือไม่ ?     

วิชาชีวิต Live 5 เตรียมหรือไม่เตรียม โดย ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ vs จ่า Drama-addict

ถาม-ตอบ หลากหลายประเด็นเรื่องผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี เปิดมุมมองคู่ใหม่ของสองนายแพทย์ คุณจ่า Drama มาในฐานะไม่ใช่คุณหมอ ถามแทนคนที่ไม่รู้เบื้องลึก ให้มีความรู้ลึกซึ้ง เป็นการพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยระยะท้าย... ที่บอกว่าเตรียมตัวแล้วนั้นเป็นการเตรียมที่ถูกต้องแล้วหรือยัง แล้วเตรียมอย่างไรจึงไม่ให้เกิดดราม่าในครอบครัว รวมทั้งคำถามสุขภาพที่คุณจ่ามักจะได้รับหลังไมค์   “การพูดคุยเรื่องความตายไม่ใช่การแช่ง แต่มันคือการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องตายอยู่ดี” จ่า Drama-addict

วิชาชีวิต บทที่ 9 Hospice care - รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช

Hospice care คือแนวคิดการดูแลประคับประคองอาการของผู้ป่วยระยะท้ายที่มีชีวิตได้อีกไม่นานเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายกาย ใจ และได้รับการดูแลทางจิตวิญญาณที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่เหลืออยู่ แบบไม่เร่งรัด หรือยืดความตายออกไป   สถานที่ Hospice เป็นได้ทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน

วิชาชีวิต บทที่ 7 การรักษาที่ไร้ประโยชน์- ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์

เมื่อได้พยายามรักษาโรคอย่างเต็มที่แล้ว การรักษาไม่ตอบสนองเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความทุกข์ทรมานแต่ไม่เกิดความผลรักษาตามที่ต้องการ จึงควรพิจารณาว่าการรักษานี้ยังมีประโยชน์ตรงกับเป้าหมายที่คนไข้ต้องการหรือไม่ และถ้าทำไม่การรักษาต่อยังมีการดูแลแบบใดที่เป็นทางเลือกเพื่อช่วยให้คนไข้ไม่ทุกข์ทรมานในระยะที่โรคลุกลามระยะท้ายแล้วบ้าง   การรักษาที่ไร้ประโยชน์ ยื้อชีวิต ยื้อความตาย เป้าหมายการรักษาให้ตรงกันกับผู้ป่วยและครอบครัว คุณภาพชีวิตในมุมของคนไข้ (วัดจากระยะเวลาที่เหลือหรือคุณภาพ) การใช้เทคโนโลยีเพื่อยื้อความตาย แต่ไม่เกิดประโยชน์ เช่น ถ้าใกล้ตาย แต่ปั๊มจะเกิดอะไร, ถ้าใกล้ตาย แต่ใส่ท่อ ช่วยหายใจจะเกิดอะไร, ถ้าใกล้ตายแต่ยังให้อาหารให้น้ำจะเกิดอะไร

วิชาชีวิต บทที่ 6 Living will หนังสือแสดงเจตนา - ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ และ รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช

สถานการณ์การดูแลรักษาอาการป่วยเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดทุกช่วงอาการ เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายไม่สามารถสื่อสารถึงความต้องการคนตนเองได้ เอกสารที่บอกถึงความต้องการการดูแลในระยะท้ายจนกระทั่งเสียชีวิต ทั้งทางร่างและจิตใจเป็นเรื่องที่จะช่วยให้แพทย์และญาติทราบถึงแนวทางและเป้าหมายการดูแล โดยทุกคนสามารถทำหนังสือ Living will ไว้ได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วย แต่จะมีผลเมื่อ ชีวิตเข้าสู่ระยะท้าย  Living will จะใช้เมื่อไร และใช้อย่างไร เก็บไว้ที่ไหน ต้องบอกใครบ้าง การแสดงเจตนาการใช้/ไม่ใช้ เครื่องมืออุปกรณ์พยุงชีพ หรือ กู้ชีพ ถ้าไม่ใช้ทางเลือกอื่นคืออะไร เช่น 1. การกู้ชีพโดยการปั๊มหัวใจ 2. การเจาะคอ หรือการใส่ท่อ ช่วยหายใจ 3. การล้างไต เมื่อไตวาย 4. การให้อาหารทางสายยางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย 5. การให้ยาปฏิชีวนะ หรือสารน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย

วิชาชีวิต บทที่ 4 ศาสตร์การเจรจา 2 อภิชญา วรพันธ์ และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

ทำไม ? การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงมีเรื่องของ “ศาสตร์การเจรจา”  แท้จริงแล้วการสื่อสารที่ดี เป็นประเด็นหลักในการรักษาทางการแพทย์ เพื่อที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติ ๆ สามารถทำความเข้าใจที่ตรงกัน และเดินทางไปสู่เป้าหมายของการรักษาที่เอื้อต่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้ เพื่อคนไข้ได้มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในยามที่เผชิญโรคภัยต่าง ๆ

วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์

การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว  เรื่องของกำลังใจ  หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี  มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ  เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย  “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย  หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.