Care Club1 ชุมชนกรุณา
ผู้ดูแล คือผู้ที่มีส่วนอย่างมาก ในการกำหนดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ผู้ดูแลจำนวนมาก รับภาระในการดูแลอย่างหนัก หลายครอบครัวมีผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว และดูแลอย่างยาวนาน ต้องเผชิญความคาดหวังและความเครียดนานา แคร์คลับ คือกลุ่มเพื่อนชวนสนทนา และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อดูแลผู้ดูแล โดยหวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูแลได้รับความเข้าใจ และได้รับการดูแลจิตใจ เพื่อที่จะกลับไปดูแลทั้งผู้ป่วยและตนเอง ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี จัดทำโดย กลุ่ม Peaceful Death โครงการชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
ความตาย ภาวะใกล้ตาย สื่ออย่างไรให้เข้าถึงใจ
วิกฤตที่สุดในชีวิตของมนุษย์ คือการรู้ตัวว่าอยู่ในสภาวะคนใกล้ตาย แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราเกิดมาทุกคนต้องตาย แต่การสื่อสารกับทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วย จะทำอย่างไรให้เพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตที่กำลังจะจากไป และที่ยังดำรงอยู่ การฟังอย่างกรุณา ไม่ด่วนตัดสิน พูดชื่นชมในสิ่งดี ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจและความสุขของกันและกัน นั่นคือ การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เดินทางจากไปอย่างมีความสุข ส่วนผู้ดูแล ครอบครัว ที่ยังต้องก้าวเดินต่อไปก็จะอยู่กับความทรงจำที่สวยงามที่มีต่อกันตลอดไป
ความตาย พูดได้ พูดถึงความตายอย่างไรดี
ความตายเป็นความจริงของธรรมชาติที่คนเราอย่างไรก็ต้องเจอ เพียงแต่เราจะไม่รู้วันและเวลาที่แน่นอนว่าเมื่อไหร่...ความตายจะเข้ามาทักทายและนำคนที่เรารักหรือแม้กระทั่งตัวเราเองต้องจากครอบครัวไป ในสังคมจึงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตาย เพราะถือว่าเป็นเรื่องเศร้า เรื่องไม่เป็นมงคล แต่แท้จริงแล้วการหาเวลาในการสื่อสารเรื่องความตายในครอบครัว หรือคนรอบข้างเป็นสิ่งที่เราควรสื่อสาร ควรพูด เพื่อใช้ช่วงเวลาในการเตรียมใจ และเตรียมตัวจากไปอย่างสงบทั้งผู้เดินทาง และผู้ส่งผู้เดินทางน็น
คลายโศก
ความสูญเสียจากคนที่เรารักย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้า การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ทุกชีวิตสามารถฟื้นฟู เยียวยา และดูแลตนเองได้ ขอเพียงเรามีกันและกัน และระลึกไว้เสมอมว่าความตายเป็นความจริงของชีวิต เราทำดีที่สุดแล้วในการส่งคนที่เรารักเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่อย่างมีความสุข และเราเองก็ต้องก้าวต่อไปเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อดูแลครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างเรา
แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย
บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข
Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย
บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ” ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย
วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
คุณอรทัย ชะฟู จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ
เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์
“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”
ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
วิชาชีวิต บทที่ 11 การรักษาใจผู้ป่วยและผู้ดูแล - พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน และ อรทัย ชะฟู
เมื่อเจ็บป่วย นอกจากสภาพร่างกายจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงแล้วสภาพจิตใจย่อมส่งผลกระทบตามไปด้วย การดูแลจิตใจของผู้ป่วยจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย หน้าที่ดูแลทั้งกายและใจนี้นอกจากบุคคลากรทางการแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาแล้ว บทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือผู้ดูแลที่เป็นผู้บริบาล คอยสังเกตและดูแลทั้งกายและใจของผู้ป่วย แม้จะดูแลด้วยความรัก ด้วยจิตใจที่เป็นมิตรต่อกัน แต่การดูแลต่อเนื่องยาวนานอย่างใกล้ชิดย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ ความเหนื่อยล้าและขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นได้ การทำความเข้าใจในสภาวะโรค สภาพจิตใจ ของผู้ป่วย และการดูแลตนเอง ดูแลใจ ของผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป