ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
กินผักกับน้ำพริกสิจ๊ะ
กินผักกับน้ำพริกช่วยต้านโรคกลุ่ม NCDs เพราะในน้ำพริกมีแคลเซียมสูง ช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดัน ส่วนในผักนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น ใบบัวบกลดความดัน ยอดสะเดาช่วยคุมเบาหวาน แตงกวา มะเขือ และกระเจี๊ยบ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งขมิ้นยังช่วยป้องกันหลอดเลือดเสื่อม
ผักบ้านบ้านประโยชน์คับบ้าน
มาเรียนรู้ประโยชน์มากมายที่ซ่อนอยู่ในผักพื้นบ้าน ตัวอย่างเช่น ผักหวานมีวิตามินซี ใบย่านางช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ผักกูดมีธาตุเหล็ก บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ อัญชัน กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและบำรุงสายตา เราลองหันมาปลูกผักกินกันเองที่บ้าน เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพกันเถอะ
มิกซ์แอนด์แมตช์ ผักผลไม้ให้ครบโดส
ในแต่ละวันเราควรจะต้องกินผักและผลไม้ให้ครบปริมาณ 400 กรัม จึงจะเพียงพอและเกิดผลดีต่อสุขภาพ เริ่มต้นง่าย ๆ อย่างน้อยเพียงกินผัก 3 อย่างกับผลไม้ 2 อย่าง สุขภาพก็ดี ร่างกายก็แข็งแรง
ผักย่างข้างไข่คน
เมนูมื้อเช้าแสนง่ายปรุงรสโดยทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg ตอนนี้ชวนทำมื้อเช้าแสนอร่อยที่ง่ายดายแต่มีประโยชน์สุขภาพครบดถ้วนกับเมนู 'ผักย่างข้างไข่คน' เริ่มด้วยการนำผักที่ชอบมาหั่นให้พอดีคำ นำไปย่างกับน้ำมันมะกอกในกระทะไฟอ่อน ๆ เติมเกลือ พริกไทย ตักใส่จานเคียงคู่กับขนมปังโฮลวีทปิ้ง ส่วนไข่คนก็ไม่ยาก นำเนยจืดไปละลายในไมโครเวฟ นำมาผสมกับไข่ไก่ดิบตีให้เข้ากัน ผัดกับน้ำมันมะกอก โรยเกลือ พริกไทย ผักโรยเล็กน้อย จากนั้นตักเสิร์ฟ พร้อมกับผักย่างหอมอร่อยได้สุขภาพดี
สลัดอะโวคาโด
คลิป DIY อาหารมื้ออร่อยและสนุก ปรุงรสโดยทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg เริ่มต้นง่าย ๆ แค่เตรียมอะโวคาโด มะเขือเทศ และผักสลัดที่ชอบจัดใส่จาน ทำน้ำสลัดแสนอร่อยด้วยการเทน้ำมันมะกอกผสมน้ำผึ้งเกสรดอกลำไย บีบมะนาวแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นโรยเกลือและพริกไทยดำ เสร็จแล้วนำมาคลุกกับผักสลัด รับประทานเป็นมื้อสุขภาพแสนอร่อย
มักกะโรนีอบชีสซ่อนผัก
งานปรุงรสสนุก ๆ จากทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg ชวนกันปรุงเมนูหอมกรุ่นรสชาติชีส คุณค่าสารอาหารเต็ม ขึ้นชื่อว่าเป็นเมนูหลอกเด็กแบบหวังดี เพราะแอบซ่อนผักเพื่อสุขภาพเอาไว้ วิธีทำก็ง่าย ๆ เพียงนำมักกะโรนีต้มจนสุก จากนั้นลวกดอกกระหล่ำ แครอท ในน้ำเดือด แล้วนำมาผัดกับเนยสด จากนั้นนำมาผสม ปรุงรสแล้วเสิร์ฟให้เด็ก ๆ ได้รับประทานอาหารจานผักในรสชาติที่แสนอร่อย
โจ๊กข้าวกล้องหวานซุปผัก
DIY โจ๊กเพื่อสุขภาพกันโดย ทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg โชว์วิธีทำโจ๊กข้าวกล้องหมูสับ เมนูอร่อยเพื่อเด็กๆ อิ่มท้อง วิตามินเต็มคำ วัตถุดิบแสนง่ายดาย หัวไชเท้า ข้าวโพด หอมใหญ่ รากผักชี กระเทียม พริกไทย เกลือ หมูสับ และอย่าลืมข้าวกล้อง จากนั้นเริ่มลงมือปรุงกันง่าย ๆ ด้วยน้ำซุปผัก ต้มข้าวจนบาน ใส่หมูสับ โรยผัก หอมกรุ่น พร้อมเสิร์ฟ
กินผักผลไม้เยอะๆ แต่ไม่รู้ต้องเยอะแค่ไหน
ในแต่ละวันเราต้องกินผักและผลไม้ให้ได้ 400 กรัมขึ้นไป โดยมีวิธีการคำนวณปริมาณการกินที่เหมาะสมคือ ในจานอาหารของเราต่อ 1 วัน ให้มีผัก 4-6 ส่วน ซึ่ง 1 ส่วนของผักเท่ากับ 1 ทัพพี ส่วนผลไม้ ให้มี 1-2 ส่วน โดยให้เป็นผลไม้ที่หลากหลาย ไม่ควรเป็นผลไม้รสหวานมาก 1 ส่วนของผลไม้ ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ องุ่น ให้มี 8-10 ลูก ถ้าเป็นกลุ่มกล้วย ส้ม แค่ 1 ลูกพอ ส่วนผลไม้ใหญ่ เช่น แตงโม มะละกอ สับปะรด ให้กิน 6-8 ชิ้น
ฝึกลูกน้อยกินผัก
มาสร้างความคุ้นเคยให้เด็กชอบกินผักกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก อายุ 6 เดือน เลือกผักรสกลาง ๆ ปรุงให้เปื่อย และย่อยง่าย อายุ 10 – 12 เดือน เลือกผักมีกากใยที่เคี้ยวได้ อย่างกระหล่ำปลี พออายุ 2 – 3 ขวบ กินได้ทั้งผัดสดและผักดิบ นำมาผสมในเมนูโปรดของลูก สำหรับเด็กโต นำผักมาดัดแปลงทั้งรูปร่างและสีสันให้น่ากินมากยิ่งขึ้น