Gen A พลังอ่านเปลี่ยนเมือง ปี 2
คลิปประมวลความสำเร็จของโครงการ Gen A พลังอ่านเปลี่ยนเมือง โครงการที่พี่ ๆ ชาวอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย รวมพลังกันเป็นจิตอาสา เข้าไปทำกิจกรรมแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของน้อง ๆ โรงเรียนต่าง ๆ ด้วยการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน จินตนาการ และความรู้เรื่องการอ่านการเขียน ทำให้พี่ ๆ สามารถช่วยให้น้อง ๆ ระดับประถมเกิดทักษะการอ่านและเขียนที่ดีขึ้น รวมไปถึงทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน ทั้งนี้ในปีที่ 2 GenA พลังอ่านเปลี่ยนเมืองจะมุ่งลงสู่พื้นที่ภาคใต้ ใช้พลังการอ่านเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีระหว่างน้อง ๆ ภาคใต้และพี่ ๆ ภาคกลางที่ทั้งหมดล้วนอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นแผ่นดินแม่ร่วมกัน
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.9 (ตอน ช้างโทนเกเร และ เกิดปีอะไร)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.9 สนุกไปกับ 2 นิทานทุ่งซ่า เรื่องแรกตอน ช้างโทนผู้เกเร เป็นเรื่องเล่าจากคุณตา จ.กาญจนบุรี เล่าถึงวีรกรรมแสนเกเรของช้างโทน ที่ชอบรังแกสัตว์น้อยใหญ่ในป่า อยู่มาวันหนึ่งนกกระจิบ และเพื่อนพ้องตัวเล็กๆ ได้ร่วมพลังสามัคคีกันล้มช้างโทน เพื่อให้บทเรียนและเตือนสติช้างโทนให้กลับตัวกลับใจไม่เกเรต่อไป ส่วนเรื่องที่สอง สนุกกับนิทานทุ่งซ่า ตอน เกิดปีอะไร เล่าเรื่องโดย คุณตา จ.เชียงราย เป็นตำนานของหมาและแมว ย้อนไปในอดีตหมาและแมวเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เพราะต่างมีชาวบ้านเก็บมาเลี้ยงดูในบ้านเดียวกัน แต่อยู่มาวันหนึ่งเกิดหมาเกิดอยากรู้ว่าแมวเกิดปีอะไร เพราะคนเป็นพี่จะมีสิทธิ์สั่งให้คนน้องหรือคนเกิดหลังทำอะไรก็ได้ แต่แมวไม่ยอมบอก จึงทะเลาะกัน สองตัวร้องขู่กันเสียงดัง กลายเป็นที่มาของหมากับแมวที่ไม่ถูกกันและเสียงร้องของทั้งคู่ในปัจจุบัน ท้ายรายการชวนกันไปเรียนรู้เรื่องการแยกขยะ และนำกล่องวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นตุ๊กตาน่ารัก
ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014
ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
มาเลือกของขวัญปีใหม่ ให้ยิ้มยกบ้าน อ่ะช้าาาา
หลักการเลือกซื้อของขวัญปีใหม่ โดยไม่ต้องพึ่งโฆษณา ให้คำนึงถึงความต้องการของผู้รับ สิ่งนั้นต้องเป็นประโยชน์ เป็นของขวัญที่ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ที่สำคัญคือต้องดีต่อสุขภาพ
แผ่นพับโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT(สสย) ปี2555
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งสื่อที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆยังมีอิทธิพลทั้งในด้านบวกและลบต่อความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้คนซึ่งรวมไปถึงเด็กและเยาวชนในสังคม โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนมุ่งสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดวิเคราะห์และ ”เลือกสื่อ” ที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับช่วงวัย โดยได้จัดการสัมมนาและนิทรรศการผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยเด็กและเยาวชน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการทั่วประเทศ
ดูแลลูกยุคไซเบอร์(เด็กไทยทันสื่อ) ปี2555
“ดูแลลูกยุคไซเบอร์ (เด็กไทยทันสื่อ)” ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ เพราะเด็กและวัยรุ่นอาจยังไม่รู้เท่าทันเรื่องภัยออนไลน์บนโลกไซเบอร์ ทั้ง ”เรื่องคนแปลกหน้า” ที่อาจไม่มีตัวตนจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรืออาจเป็นมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงมา “เนื้อหาต้องห้าม” ข้อความหยาบคาย อีเมลโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง และ ”ชุมชนออนไลน์” บางสังคมออนไลน์อาจชวนเราไปทำกิจกรรมที่ดีช่วยเหลือผู้อื่น แต่บางสังคมออนไลน์ก็ชวนให้เราแสดงความคิดเห็นในทางลบ ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่ลูกในเรื่องภัยออนไลน์และช่วยเสริมสร้างให้เขามี “วิจารญาณในการเสพข้อมูลบนเน็ต” รวมทั้งใช้สื่ออินเตอร์เน็ตไปในทางบวกและมีเป็นประโยชน์กับตัวเอง