การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด
อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ
The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูชีวัน วิสาสะ
จนถึงตอนนี้ สถานการณ์วิกฤตโควิด19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเพราะไวรัสมีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์ของโรคระบาดโควิด19 มีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้การรักษาโรคยากขึ้นไปอีก การจะสื่อสารและอธิบายกับเด็กให้พวกเขาเข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคระบาดและเห็นถึงความสำคัญของการตั้งการ์ดป้องกันตัวเองจากโรคร้าย ด้วยคำพูดจากผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอ The Reading อ่านสร้างสุข คลิปวิดีโอ การใช้นิทานภาพเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารโน้มน้าวและอธิบายให้แก่เด็กๆ เข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคโควิด19 โดยนิทานภาพจะทำให้พวกเขาเห็นภาพและเกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์มากขึ้น พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการป้องกันและดูแลตัวเองในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด19 ได้อย่างสร้างสรรค์
บ้านป่าคา ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติ บนความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวลาหู่ ที่อพยพมาจากอ่างขางและหลักสา(หัวน้ำห้วยงู) ที่ยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่น่าหลงไหลง และเป็นเอกลักษณ์ ที่พร้อมต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ในอนาคตบ้านป้าคาจะเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ และต้องการซึบซับกับความน่าหลงไหลของวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม
หมู่บ้านนอแล ต.ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านชาวไทย-ภูเขาเผ่าปะหล่อง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ทำให้เราสามารถมองเห็นประเทศพม่าที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 กิโลเมตรได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นเรายังสามารถสัมผัสกับธรรมได้อย่างเต็มที่ เพราะหมู่บ้านนอแลตั้งอยู่บนดอยอ่างขาง ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ นับได้ว่า หมู่บ้านนอแลจะเป็น สื่อศิลป์ SE ม่อนปิ่น ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยเอกลักษณ์ของชุมชนที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า และโอบล้อมไปด้วยธรรม
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน
การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง
ใช้เวลาอยู่บ้านทำ 6 Sensing รับรู้โลกไร้ขีดจำกัด
ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยจากไวรัสและทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน วันหยุดนี้ขอชวนเดินทางไปสัมผัสสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...โควิด เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ
สามารถดาวน์โหลดสื่อได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=536
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...โควิด เวอร์ชั่นภาษาจีน
สามารถดาวน์โหลดสื่อได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=535
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น)
นิทาน 2 ภาษา ไทย-ญี่ปุ่น เรื่อง อีเล้งโค้งอยู่บ้านต้านโควิด ที่มาพร้อมความสนุกและอารมณ์ขันที่สอดแทรกความรู้ให้กับน้อง ๆ เยาวชนและทุกคนในครอบครัวให้หันมาทำความรู้จักกับโรคร้ายโควิด-19 และวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ น้อง ๆ เยาวชน นอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความรู้ไปกับการอ่านนิทานแล้ว ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่เยาวชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคร้ายโควิด-19 อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=531
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...ต้านโควิด
นิทานอีเล้งเค้งโค้ง โดยครูชีวัน วิสาสะ สร้างสรรค์ขึ้นในวาระพิเศษช่วงของการ 'อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ' เนื้อหาเป็นการอธิบายให้เด็กๆ ได้เข้าใจสถานการณ์และการปฏิบัติตัวช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างที่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ได้เพลิดเพลินกับการระบายสี แต่งแต้มสีสันให้กับนิทานเรื่องนี้ได้ตามจินตนาการอีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=530