13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง
Pocket English ตอนที่ 18 ไปอาบน้ำล้างรูปกัน
พี่หลุยส์กับพี่ลูกเจี๊ยบ พาไปเรียนรู้ศัพท์เกี่ยวกับการถ่ายรูปเพื่อไปใช้สมัครงานหรือสมัครเรียนที่ร้านถ่ายรูป ทั้งการบอกขนาดรูปถ่าย ครึ่งตัวหรือเต็มตัว ไปจนถึงการถามราคา บอกจำนวนที่ต้องใช้ รวมไปถึงคำว่าล้างรูป เราต้องใช้คำว่า Develop ไม่ใช่ Wash ไม่อย่างนั้นเราอาจจะได้อาบน้ำแทนล้างรูปเพราะใช้คำผิด
A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ
รักษ์นที
ผลงานสารคดี จากผักหวานทีม โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม พาไปหมู่บ้านผาสามยอด พูดคุยกับคุณเกษม สมชาย เจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กับวิถีอนุรักษ์น้ำ ดิน อากาศ นำสู่การปลูกผักอินทรีย์ ไร้สารพิษ พึ่งพาธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง ส่งต่อแนวคิดให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะอันงดงาม
แม่น้ำโบราณ
หากพญานาคสะท้อนความในใจออกมาได้? จะเป็นอย่างไร
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 1)
การได้เกิดและเติบโตในย่านบางลำพู ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังความปลาบปลื้มมาให้ผู้คนในชุมชนบางลำพู ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาสถวายการต้อนรับเมื่อครั้งเสด็จนิวัติผ่านถนนจักรพงษ์ การรับเสด็จเมื่อครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนให้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิม แม้กระทั่งการได้ถวายเสื้อเชิ้ตแด่พระองค์และทราบว่าพระองค์ทรงใช้สวมใส่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำแนวพระราชดำริโครงการจักรยานเผินน้ำมาผสานกับโครงการกังหันชัยพัฒนา เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับคูคลองย่านบางลำพู เหล่านี้คือความประทับใจและจิตวิญญาณของลูกหลานชาวบางลำพู ที่จะดูแลชุมชนของตนเองให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า และอยู่ในความทรงจำตลอดไป
ใจสนุกตูน ฉบับ น้ำลดน้ำใจผุด
หนังสือทำมือที่เกิดจากกลุ่มนักเขียนและผู้รักงานการ์ตูน ได้รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมสนุกๆ แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม โดยมีชื่อเรียกกลุ่มว่า...ใจสนุก... สำหรับการ์ตูนเล่มนี้เล่าเรื่องชวนติดตาม สะท้อนเรื่องราวชีวิตและภารกิจการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในช่วงที่ประเทศไทย โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมใหญ่ เป็นช่วงที่ทุกคนฝ่าวิกฤตเหล่านั้นมาได้ด้วยน้ำใจที่มีให้แก่กันและกัน
หนังสือเสียง แพ้ชนะไม่สำคัญ
นิทานสะท้อนความมีน้ำใจนักกีฬาของนักวิ่งคนเก่งจาก 3 โรงเรียน 3 สหาย "ปุยฝ้าย" จากโรงเรียนแสนสุข "ปูเป้" จากโรงเรียนหรรษา และ "ปักเป้า" จากโรงเรียนสุขสันต์ ระหว่างที่ปุยฝ้ายกำลังวิ่งนำ ก็เกิดเหตุไม่คาดคิดเมื่อปูเป้ที่วิ่งตามมาเป็นอันดับสองเกิดหกล้มจนขาพลิก ปุยฝ้ายเลยหยุดช่วยพยุงปูเป้ ทำให้ปักเป้าได้เหรียญทองไป สุดท้ายเด็ก ๆ ทุกคนได้เรียนรู้ว่า แพ้ชนะไม่สำคัญ สิ่งสำคัญคือความดีและมีน้ำใจ
หนังสือเสียง ผจญภัยในห้องน้ำ
"ม่อน" เด็กชายผู้ไม่ชอบการอาบน้ำ จนถูกคุณแม่ทำโทษขังไว้ในห้องน้ำ ตอนนั้นเองได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์ ห้องน้ำได้กลายเป็นดินแดนมหัศจรรย์ พาม่อนไปผจญภัยในป่าแห่งจินตนาการ ที่นั่นเองมีเพื่อนพ้องมาชักชวนให้ม่อนสนุกกับการอาบน้ำเองจนตัวหอมกรุ่น
หนังสือเสียง เจ้าชายคันคะเยอ
ณ เมืองรูเซีย มีเจ้าชายน้อยผู้ซึ่งเป็นที่รัก และได้รับการตามใจจากพระราชาและพระราชินีอยู่เสมอ มาวันหนึ่งเจ้าชายน้อยไม่ยอมเรียนหนังสือ หนีไปเที่ยวเล่นในป่าจนค่ำมืด กลับมาก็ล้มตัวนอนทันทีไม่ยอมอาบน้ำ พอวันรุ่งขึ้นตื่นมาจึงอาการคันไปทั้งตัวเพราะขี้กลาก พระราชินีจึงตั้งชื่อให้ใหม่ ว่าเจ้าชายคันคะเยอ
พ่อช้างผู้หวังดี
อยู่ๆ วันหนึ่ง ณ ป่าที่เคยสงบสุข ก็เกิดเหล่าสัตว์ป่ามากมาย มีอาการเอะอะ โวยวาย ขาดสติ ทำร้ายกัน จน “พ่อช้างผู้หวังดี” สืบหาสาเหตุ พบว่ามาจากบ่อน้ำที่หมักผลไม้เน่าเสีย จนกลายเป็น ”น้ำเมา” พ่อช้างจึงหาใบไม้มากลบปิดไว้ เพื่อคืนความสงบสุขให้ป่าดังเดิม นิทานนี้สะท้อนแนวคิดให้เด็ก ๆ เห็นถึงผลเสียของสุราหรือน้ำเมา