ติดน้ำอัดลม ระวัง หวานจนติดลม
อย่าเผลอตัวเผลอใจให้น้ำอัดลม แม้จะบอกว่าไม่มีน้ำตาลก็เถอะ แต่ก็ทำให้เราติดหวาน และเสี่ยงต่อโรคอยู่ดี เพราะจากสถิติ คนไทยจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำอัดลม 38,800 ล้านบาทต่อปี แต่ ประเทศไทยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคร้ายจากน้ำอัดลม 330,000 ล้านบาทต่อปี! และแม้ว่าน้ำอัดลมชนิดนั้นจะบอกว่ามีน้ำตาล 0% แต่ก็ใส่สารให้ความหวาน ยิ่งกลายเป็นการหลอกลิ้นของเราให้ติดรสหวานมากยิ่งขึ้น ความอยากน้ำตาลทำให้เราหิวง่าย และกินมากกว่าปกติ 30% ทำให้อ้วน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคติดต่อไม่เรื้อรังอื่นๆ ตามมา ทางที่ดี งดกินน้ำอัดลมดีกว่า รับรองไม่ติดหวานแน่นอน!
คนเจ้าน้ำตาล หยุดดราม่าด้วยการบริโภคน้ำตาลอย่างพอดี
ใครจะรู้ว่า...บางทีอาการทางกายที่เราเป็นอยู่ ซึมเศร้า หดหู่ ฟันผุ กระดูกเปราะ ฯลฯ อาจเกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อยากให้อาการดราม่าจากน้ำตาลร้ายเหล่านี้ทำร้ายเรา ลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ จากอินโฟกราฟิกนี้ ค่อย ๆ ลดน้ำตาลกัน
ผลไม้ที่คุณทานอ่อนหวานแค่ไหน
การรับประทานทุกอย่างต้องมีความพอดี แม้แต่การรับประทานผลไม้ก็เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานมากเกินไป ความหวานในผลไม้อาจส่งผลให้เป็นโรคต่าง ๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และฟันผุ ตัวอย่างเช่น มะม่วงสุก 1 ผล มีปริมาณน้ำตาล 3.56 ช้อนชา แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 2.17 ช้อนชา ทุเรียนกวน 16 คำ มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 9.97 ช้อนชา
ปริมาณน้ำตาลในขนมไทย
คนไทยมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลมากขึ้นเป็น 3 เท่า เรามาลองมาเช็คปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในขนมไทยแต่ละประเภท จากขนมไทยปริมาณ 100 กรัม ถ้าเป็นทองหยอดปริมาณน้ำตาลมี 57 % ฝอยทอง 40 % ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง 26 % ขนมกล้วย 26 % และลอดช่องน้ำกะทิ 12 %
น้ำตาล..ในน้ำอัดลม
สื่ออินโฟกราฟิกที่จะช่วยให้เราเข้าใจและมองเห็นปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในน้ำอัดลมได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นแล้ว น้ำอัดลมยังซ่อนกรดอีกหลากหลายชนิดที่ออกฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพของเราอย่างที่เราคาดไม่ถึง
หวานพอดีที่ 4 กรัม
ปัจจุบันน้ำตาลในซองสำเร็จรูปมีหลายขนาด ให้เลือกใช้ขนาดน้อยที่สุดเพียง 4 กรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ช้อนชา เพราะปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันของคนเรานั้น ถ้าเป็นเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชา ผู้ใหญ่ไม่เกิน 6 ช้อนชา หากบริโภคน้ำตาลเกินจะมีโรคต่างๆ ตามมา ทั้งโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด
ภัยอันตรายจากน้ำดื่ม
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา
เรียนรู้ทันคำโตๆของโฆษณา
ในฉลากอาหารมักมีคำโฆษณาแสดงปริมาณสารอาหาร เพื่อจูงใจการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ถ้าพบคำว่า “ปราศจากไขมัน, ปราศจากน้ำตาล” ไม่ได้แปลว่าไม่มีเลย หรือเป็น 0 แต่ยังมีอยู่น้อยกว่า 0.5 กรัม ถ้าพบคำว่า “มีคอลลาเจน หรือ ใยอาหารสูง” แสดงว่าต้องมีสารอาหารที่มีประโชยน์ต่อร่างกายไม่น้อยกว่าร้อยละ10 หรือร้อยละ 20 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI)
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน น้ำบวกลม (ตอนที่ 2)
องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ขณะที่น้ำอัดลมน้ำดำ มีน้ำตาล 8.5 ช้อนชา, น้ำอัดลมน้ำสี มีน้ำตาล 10.25 ช้อนชา และน้ำอัดลมน้ำใส มีน้ำตาล 11.5 ช้อนชา น้ำตาลที่เป็นส่วนเกินจากน้ำอัดลมจึงไปสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคอ้วน