trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "นที" พบ 158 ข้อมูล

ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 1)

การได้เกิดและเติบโตในย่านบางลำพู ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังความปลาบปลื้มมาให้ผู้คนในชุมชนบางลำพู  ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาสถวายการต้อนรับเมื่อครั้งเสด็จนิวัติผ่านถนนจักรพงษ์  การรับเสด็จเมื่อครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนให้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิม แม้กระทั่งการได้ถวายเสื้อเชิ้ตแด่พระองค์และทราบว่าพระองค์ทรงใช้สวมใส่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำแนวพระราชดำริโครงการจักรยานเผินน้ำมาผสานกับโครงการกังหันชัยพัฒนา  เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับคูคลองย่านบางลำพู  เหล่านี้คือความประทับใจและจิตวิญญาณของลูกหลานชาวบางลำพู  ที่จะดูแลชุมชนของตนเองให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า และอยู่ในความทรงจำตลอดไป

ร.๙ ในใจชน ตอน ถวายจงรักด้วยอักษรา (ตอนที่ 1)

คุณชมัยภร แสงกระจ่าง ได้ถ่ายทอดความจงรักภักดีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ครั้งผู้เขียนยังวัยเยาว์ ผ่านเรื่องราวอันแสนประทับใจที่เล่าผ่านคุณยาย ว่าพระองค์ทรงเป็นพระราชาที่ต้องกราบไหว้จากหัวใจ ด้วยซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นนักสู้ที่ยิ่งใหญ่ สู้กับความปวดร้าวของชาวไทย สู้กับความยากไร้ของแผ่นดิน โครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ได้บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ปวงประชาราษฎร์ในแผ่นดินของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุขมาตลอด 60 ปีที่ทรงครองราชย์ และพระองค์ยังทรงงานหนักโดยมิหยุดหย่อน ตราบที่พระวรกายยังแข็งแรง  พระองค์ทรงดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์เสมอมา

ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 2)

ท่ามกลางพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายดาย  แต่ไม่อาจทัดทานความเสียสละของคุณหมอชาวต่างชาติที่ทุ่มเทกำลังกายใจเต็มที่ในการช่วยเหลือชีวิตผู้เจ็บป่วย โดยมีความหวังว่าหากโลกนี้มีพระราชาเฉกเช่นในหลวง รัชกาลที่ 9 ความขัดแย้งในดินแดนนี้คงไม่เกิด ...เมื่อเราไม่อาจเปลี่ยนชะตาจึงต้องเรียนรู้ และยอมรับ เช่นเดียวกับวันที่คุณโตมร ศุขปรีชา  ต้องเสียคุณพ่อไปอย่ากระทันหันโดยมิได้กล่าวคำลา ทว่าความสูญเสียที่สำคัญในชีวิตครั้งนั้น กลับเทียบเท่าไม่ได้กับความโศกเศร้าอาดูรของคนไทยทั้งแผ่นดิน  เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสู่สวรรคาลัย

ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 1)

จากหนังสือที่พ่อมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด เมื่อตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีทื่ 6  หนังสือปกแข็ง สีแดงเข้ม รวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจด้านการดนตรีให้ คุณโตมร ศุขปรีชาในวัยเด็ก พัฒนา เติบโต เป็นความประทับใจภายใน  เมื่อนึกถึงหนังสือเล่มนั้น พระปรีชาสามารถด้านการดนตรีของพระองค์ และบทเพลงสายฝน ที่ตนเคยเล่นอิเล็กโทนเมื่อยังเยาว์ ก็จะเกิดความรู้สึก “ยำเยง ยกย่อง ทว่าเต็มตื้น และสดชื่นอย่างยิ่ง”

จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554

ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 10

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 10 "ทุกคนมีสิ่งที่พิเศษบางอย่างที่เรียกว่า ศาสนาของข้าพเจ้า อะไรคือศานาของเขา ศาสนาที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของเขา และสร้างเขาอย่างต่อเนื่อง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 – 1941 

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 8

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 8 "เมื่ออยู่ในชนบทข้าพเจ้าพยายามตลอดเวลาที่จะเรียนรู้ไปในรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด งานของข้าพเจ้าทำให้ต้องเดินทางไกลจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง จากศิลัยดาถึงหมู่บ้านปักติษา ผ่านแม่น้ำน้อยใหญ่และข้ามหนองน้ำ ด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าได้เห็นชีวิตในหมู่บ้านทุกด้าน ข้านเจ้ากระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจกิจวัตรประจำวันในหมู่บ้าน ความเป็นมาของชีวิตในหมู่บ้านที่สำคัญและน่าสนใจ ไม่นานนักก็เห็นความทุกข์ยาก โศกเศร้าของพวกเขาชัดเจน แล้วรู้สึกอดร้นทดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้ามันน่าละลายที่จะใช้ชีวิตแบบเจ้าที่ดิน สนใจแต่เรื่องหาเงิน และหมกมุ่นอยู่กับกำไรขาดทุนของตนเอง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 7

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 7 "หากเราปลดปล่อยหมู่บ้านได้แม้เพียงแห่งเดียว จากพันธนาการของความสิ้นหวังและอวิชชา ต้นแบบของอินเดียทั้งประเทศจะเกิดขึ้น ขอให้หมู่บ้านบางแห่งฟื้นฟูมาเช่นนี้ และข้าพเจ้าจะกล่าวว่านี้คืออินเดียของข้าพเจ้า" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861-1941

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1915

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 5

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 5 "ข้าพเจ้าเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใฝ่ฝันจะขยายจิตวิญญาณของมนุษย์ ในบ้านของเรา เราแสวงหาเสรีภาพในอำนาจที่จะใช้ภาษาของเรา เสรีภาพที่จะจินตนาการในวรรณกรรมของเรา เสรีภาพของจิตวิญาณในความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพของความคิดในสภาพแวดล้อมทางสังคม โอกาสเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอำนาจการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต และเป็นสิ่งเดียวที่จะให้เสรีภาพที่แท้จริงแก่เรา เสรีภาพสูงสุดของมนุษย์ นั่นคือ เสรีภาพของการยึดถือหลักธรรมร่วมกันในโลกมนุษย์" จากเรื่อง อุดมคติของการศึกษา โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1929

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.