ฆรู โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในปัจจุบัน เราใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่การเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพนั้น คือ การเรียนการสอนด้วย"ครู" ซึ่งเป็นผู้อบรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังในอนาคต ดังนั้น พวกเราจึงใช้คำว่า "ฆรู"ซึ่งมีมาจากการรวมกันของคำว่า ฆูรู ที่แปลว่าครูในภาษามลายู กับคำว่าครู เพื่อสื่อถึงการสะกดคำที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากการศึกษาไทยที่ผิดพลาด วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ และรู้สึกถึงปัญหา และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต
ท่าเทียบเรือปากบารา โดย คณะวิทยาศาสตร์ สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอผลกระทบอีกด้านหนึ่งจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผลกระทบของความเจริญในอีกด้านอาจส่งผลถึงระบบนิเวศ ธรรมชาติ วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม สตูลอาจไม่ใช่พื้นที่สะอาด สงบ ดั่งคำขวัญที่เคยมีมา หากวันนี้ความเจริญทางวัตถุกำลังสวนทางกับวิถีธรรมชาติ เราควรจะเลือกเดินไปทางใด?
อย่าใช้คำทำร้ายคนในครอบครัว
กว่า 70 % ของปัญหาครอบครัว เกิดขึ้นจากการสื่อสารด้วยคำพูดที่ไม่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการหย่าร้าง ดังนั้น ทุกครอบครอบครัวควรให้ความสำคัญกับการใช้ “คำพูด” และการสื่อสารที่ดีต่อกัน คือ คิดก่อนพูด ฟังให้มากกว่าพูด พูดจาไพเราะ ให้กำลังใจ ชื่นชม รู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และควรสื่อสารด้วยการคิดบวก หรือพูดเรื่องตลกขบขันบ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว
หนูชื่อ..ยูโร (I am not France) รร.อยุธยานุสรณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
"หนู" เป็นคำเรียกแทนตัวเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง และใครที่กำลังคิดว่าคำว่า “หนู”จำกัดเพศการเรียกแทนตัวเอง เราอยากให้คุณได้ติดตามภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาความเปราะบางในครอบครัว “ความเหงา ความเศร้า ความสุข” ไปด้วยกัน ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง "หนูชื่อ...ยูโร (I am not France)" ในประเด็น "กลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง" จากโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง
เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนที่คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีคิด การต่อสู้ ความอดทน ของ“คนสองวัย” ในบางหลวงที่ร่วมกันสืบสานและบันทึกตำนานรวมเรื่องเล่าย่านความหลัง ถ่ายทอดเป็นตำนาน “เสื่อผืน หมอนใบ” ของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับคนไทยและชาวลาว ที่บ้านบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ จนเกิดเป็นแหล่งอารยธรรมผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคี ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจวบจนถึงปัจจุบัน
ความรักศิลปะบทกวีมีใบไม้เป็นครู
“เพราะความงามคือความจริง” ร่วมเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างชีวิตและธรรมชาติ ที่กลุ่มเด็กรักป่าอีสานใต้ ได้ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2532 จนเกิดโครงการโรงเรียนเด็กรักป่าขึ้นในปี 2534 เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติและผืนป่า ที่เชื่อมโยงระหว่างเด็ก ชุมชน และธรรมชาติเข้าหากันอย่างเกื้อกูล มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ชุมชนรักษ์และเห็นคุณค่าของป่าและธรรมชาติ ด้วยงานศิลปะหลากหลายขนาด เช่น งานวาดภาพ งานเขียนบทกวี ดนตรี กิจกรรมดูนกเดินป่า ทำบาติกย้อมสีธรรมชาติ
มหัศจรรย์การอ่านเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย งานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้สู่มหานครแห่งการอ่าน อุบลราชธานี
ประมวลภาพการจัดกิจกรรมโซน“มหัศจรรย์การอ่านเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย” ในงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้สู่มหานครแห่งการอ่าน อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 "๑๐ ปี อุบล คนมักอ่าน" ระหว่างวันที่ 11 – 19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์โฮเทลแอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ร่วมกับ สุนีย์ทาว์เวอร์ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด และภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่านจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการร่วมจัดกิจกรรมสำคัญเวทีภูมิภาคครั้งแรกเพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการรักการอ่านตั้งแต่เด็กปฐมวัย
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง นังอ้วนครวญคราง
การ์ตูนไทยสร้างสรรค์สุขภาวะ เตือนภัยยาลดความอ้วน ผ่านเรื่องราวของ 'น้องอ้วนง เด็กหญิงที่ไม่เคยพอใจรูปร่างของตนเอง เพราะชอบไปเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อน ๆ ที่มีรูปร่างดี ผอมเพรียว และอยู่มาวันหนึ่งเพื่อนก็แนะนำยาลดความอ้วน ที่เมื่ออ้วนกินเข้าไปเพื่อหวังจะสวยผอมแบบเพื่อน แต่กลับต้องมาพบกับจุดจบที่อ้วนเองก็ต้องครวญครางอยู่คนเดียว